ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนเมษายน 2661 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นอยู่ในระดับ 80.9 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 40 เดือน นับตั้งแต่เดือน มกราคม 2538 เป็นต้นมา ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค6 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 90.8. มาเป็น 91.9 ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 61 เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2536 เป็นต้นมา โดยมีปัจจัยบวกมาจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้น พืชผลทางการเกษตรหลายรายการเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง เงินบาทที่ปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อย ซึ่งการที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดบต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังเห็นว่า สถานการณ์โดยรวมของเศรษฐกิจยังฟื้นตัวขึ้นไม่มากนัก
ส่วนสิ่งที่เป็นความกังวลคือ สถานการณ์ทางการเมืองของไทย สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ราคาพืชผลทางการเกษตรยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ยังเป็นตัวที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวม คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ยังเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ตามเป้าในระดับ ร้อยละ4.2-4.6จากการส่งออกได้ดี การท่องเที่ยวยังเติบโตดี เศรษฐกิจมหภาคเริ่มฟื้นตัว
แฟ้มภาพ