การจัดเสวนาเพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติมีกำหนดเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ในวาระที่ 2 และ 3 ในเดือนเมษายนนี้
พล.อ. อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ระบุว่า ร่างกฏหมายฉบับนี้เป็นการเสนอมาจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับให้อำนาจกระทรวงเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำให้ดีขึ้น มีทั้งการจัดตั้งคณะคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีการจัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำ 25 กลุ่ม ที่มีตัวแทนมาจากภาคประชาชนและหน่วยงานเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาในลุ่มน้ำต่างๆ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยประสบกับปัญหาเรื่องน้ำ ทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม และการจัดการน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทานที่ยังไม่มีหน่วยงานเข้ามารับผิดชอบ ซึ่งหวังว่าเมื่อร่างพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้แล้วจะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการน้ำได้ดีขึ้นทั้งในเขตพื้นที่ชลประทานและนอกเขตชลประทาน โดยหลังจากนี้ คณะกรรมาธิการฯจะส่งร่างไปให้หน่วยงานในท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนส่งข้อคิดเห็นมาปรับแก้เพิ่มเติม
ด้านนาย สุรจิต ชิรเวทย์ กรรมาธิการวิสามัญฯ อภิปรายว่า ทางกรรมาธิการฯมีการปรับแก้เนื้อหาไปหลายส่วนแล้วจากร่างแรกที่ผ่านที่ประชุม สนช. ซึ่งจากการรับฟังความเห็น มีข้อเสนอเรื่องการจัดตั้งกองทุนการใช้น้ำ เพื่อนำมาใช้จ่ายเป็นค่าใช้น้ำให้กับกรมชลประทาน ที่จัดเก็บค่าใช้น้ำได้ประมาณ 600-700 ล้านบาทต่อปี ส่วนกรมน้ำบาดาลได้ประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี แต่จากการศึกษาพบว่าการจัดตั้งกองทุนไม่ใช่เรื่องง่าย และที่ผ่านมารัฐบาลเคยมีการยุบกองทุนไปแล้วหลายกองทุน
....
ผสข.ธีรวัฒน์ สิทธิเกรียงไกร