ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมระบบทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผยว่า จากกรอบความร่วมมือทางวิชาการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีของญี่ปุ่น บริษัท Hanshin Expressway นำบุคลากรมาสาธิตเทคนิคการบำรุงรักษาโครงสร้างทางยกระดับและสะพานขนาดใหญ่แบบ"Ninja-tech" โดยใช้พื้นที่บริเวณใต้สะพานพระราม9 ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ในการสาธิตการเข้าถึงพื้นที่ที่อยู่ในระดับสูงและเข้าถึงได้ยาก ซึ่งการปฏิบัติสามารถเขัาถึงพื้นที่ได้ทันที ไม่ต้องเสียงบประมาณหลักแสนบาทในการนำรถเครนหรือรถกระเช้าเข้าติดตั้งก่อนเข้าตรวจสอบ1วัน สำหรับการสาธิตได้ใช้วิศวกรญี่ปุ่นจำนวน2คนโรยตัวลงมาจากด้านบน ด้วยเชือกไนล่อนรับน้ำหนักได้กว่า250กิโลกรัม ยึดกับน็อตโบลท์(Bolt)ที่รับน้ำหนักได้2ตัน พร้อมอุปกรณ์ที่มีกลไกความปลอดภัยสูง สามารถเคลื่อนตัวอย่าวคล่องแคล่วในแนวดิ่งได้160เมตร และแนวทะแยง400เมตร หมวกของวิศวกรติดตั้งกล้องและวิทยุที่พร้อมสื่อสารกับศูนย์ ตรวจสอบความกว้างของรอยร้าวได้ถึง0.2มิลลิเมตร และใช้เครื่องเอ็กซเรย์ความลึกเพื่อแก้ไขก่อนมีความชื้นภายใน ทั้งนี้ วิศวกรต้องเรียนรู้พื้นฐานอย่างน้อย4-12วันถึงจะสามารถปฏิบัติได้ แต่ต้องใช้เวลาฝึกฝนถึง1ปีจึงจะเชี่ยวชาญได้ประกาศนียบัตรไปคุมงานได้อย่างไรก็ตาม บริษัท Tokushu Kosho Gijyutsu บริษัทในเครือของ Hanshin Expressway เป็นผู้คิดค้นและเข้าบำรุงรักษาทางด่วนทั้งประเทศญี่ปุ่นเพียงเจ้าเดียวมาตลอด6ปี และพร้อมถ่ายทอดเทคนิคให้หน่วยงานของไทยนำไปใช้ต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ทั้งนี้ทางด่วนที่ญี่ปุ่นมีอายุการใช้งานนานกว่า40ปี นำหน้าประเทศไทยมากถึง10ปี ภายหลังการตรวจสอบสภาพทางพิเศษแล้ว วิศวกรญี่ปุ่นชื่นชมว่า กทพ.สามารถบำรุงรักษาได้อย่างดีเยี่ยม
อภิสุข