สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสอีโบล่า ที่ขณะนี้ทำให้ทุกประเทศต้องเฝ้าจับตาเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ ร่วมถึงประเทศไทย กรมควบคุมโรค จึงทำความเข้าใจในความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ นายแทพย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อไวรัสอีโบล่า เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ค.ศ.1976 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 38ปี โดยเชื้อจะมีระยะพักตัว 4-10วัน ติดต่อได้จากสารคัดหลัง เช่น เลือด น้ำมูก เหงื่อ ฯลฯ และของใช้ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โดยในปัจจุบันประเทศไทยจะมีมาตรการดูใน 2กรณี คือ เข้าข่ายต้องสงสัย และเชื่อว่าเป็นผู้ติดเชื้อ แต่ในขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการพบผู้ติดเชื้อจึงอยู่เพียงในระยะเฝ้าสังเกตตรวจสอบผู้ที่ต้องสงสัยในผู้ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งหากพบผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในกลุ่มเสี่ยง 4ประเทศ คือ กินี เชียร์ล่าลีโอน ไลบีเรีย และไนจีเรีย ก็จะถูกตรวจสอบและเฝ้าติดตามสังเกตการณ์ 21วัน หากพบว่ามีอาการที่เข้าข่ายก็จะถูกนำเข้ามาดูอาการอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาลที่รองรับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่าในไทย
ส่วนกรณีที่พบหญิงวัย 48ปี ที่สงสัยว่าตัวเองจะติดเชื้ออีโบล่า แต่สรุปผลตรวจออกมาไม่พบว่าติดเชื้อนั้น ได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยผ่านกระบวนการตรวจวินิจฉัย ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินการที่ตรงตามมาตราฐานสากลในทุกขั้นตอนของการตรวจสอบผู้ที่ติดเชื้อ
นายแพทย์ศุภมิตรย้ำว่า ขณะนี้อยากให้ประชาชนมั่นใจและไม่ต้องตื่นกลัวเพราะทางกระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือเฝ้าระวังที่ดี ซึ่งหากพบผู้ที่ติดเชื้อก็จะสามารถจะดำเนินการ ไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกไปได้อย่างแน่นอน
วิรวินทร์/ภาพ-ข่าว