วิกฤติผู้อพยพส่งผลให้อียูแบ่งเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน

15 ธันวาคม 2560, 08:00น.


ในการประชุมของผู้นำสหภาพยุโรป หรือ อียู ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม บรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกยังคงมีความเห็นขัดแย้งกันเกี่ยวกับนโยบายผู้อพยพลี้ภัย ซึ่งทำให้นายโดนัลด์ ทัสก์ ประธานการประชุมมีความเห็นว่านอกจากระบบโควต้าจะไม่ประสบความสำเร็จ ยังทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างตะวันออกและตะวันตก ขณะที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี เรียกร้องให้ยุโรปมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อช่วยอิตาลีและกรีซลดภาระดูแลผู้อพยพลี้ภัยจากเมดิเตอเรเนียน ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดสัดส่วนให้ประเทศสมาชิกรับผู้ลี้ภัยจากซีเรียและเอริเทรีย 160,000 คนที่อยู่ในอิตาลีและกรีซ แต่ปัจจุบันมีผู้ย้ายถิ่นฐานไปแล้วประมาณ 32,000 คน



ก่อนหน้านี้โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเช็ก ปฏิเสธนโยบายสัดส่วนผู้อพยพลี้ภัยของอียู และล่าสุดสโลวะเกียก็ปฏิเสธเช่นกัน แม้ว่าสมาชิกของยุโรปจะเรียกร้องให้ช่วยบรรเทาปัญหาผู้อพยพ ขณะที่นายทัสก์ซึ่งเคยเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ก็ถูกวิจารณ์ทั้งในระดับของอียูจนถึงภายในประเทศ ส่วนนายกรัฐมนตรีแมร์เคิล ก็ถูกวิจารณ์เป็นอย่างมากที่ดำเนินนโยบายประกาศรับผู้อพยพลี้ภัยจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนในช่วงระหว่างปี 2558-2559 


...


F163
ข่าวทั้งหมด

X