การพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำแห่งเเรกในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก พร้อมเปิดเผยว่า ในอดีตพื้นที่อำเภอแม่สอด มีปัญหาในเรื่องน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค กรมชลประทานจึงแก้ปัญหาเร่งด่วนโดยการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบน ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำเอนกประสงค์ ใช้ในการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม เกษตรกรรม สามารถกักเก็บน้ำได้ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ 6,700 ไร่ ขณะนี้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง ร้อยละ 67 จะสร้างแล้วเสร็จในช่วงปลายเดือนเมษายน 2561 และสามารถกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2562 โดยการบริหารจัดการน้ำ จะแบ่งน้ำไว้ให้การประปาส่วนภูมิภาค ผลิตน้ำประปาไว้สำหรับภาคอุตสาหกรรม อุปโภค บริโภค จำนวน 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำสำหรับภาคการเกษตร ประมาณ 8-9 ล้านลูกบาศก์เมตร

ดร. สมเกียรติ ระบุว่า เมื่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่สอดตอนบนเสร็จแล้ว จะสามารถส่งเสริมน้ำในพื้นที่ข้างเคียงได้ด้วย รวมถึงแม่น้ำตาว ซึ่งขณะนี้พบปัญหาคือสามารถดึงน้ำมาใช้ได้ร้อย เพราะในน้ำมีแร่เคสเมียมจำนวนมาก นอกจากนี้กรมชลประทาน ยังมีการพัฒนาแหล่งน้ำเร่งด่วนอีก 3 แห่ง คือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ละเมาตอนกลาง-บ้านห้วยยะอุ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ สามารถกักเก็บน้ำสูงสุดประมาณ 85.ล้านลูกบาศก์เมตร
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยอุ้มเปี้ยมตอนบน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ สามารถกักเก็บน้ำสูงสุดประมาณ 84. ล้านลูกบาศก์เมตร โดยโครงการทั้ง 2 นี้ จะต้องดำเนินการศึกษา เพื่อทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ทั้งสิ้น เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่พร้อมประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
ส่วนโครงการที่ 3 คือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่กึ๊ดหลวงตอนบน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก กักเก็บน้ำสูงสุดประมาณ 2.5 ล้านลูกบาศก์เมตร เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าละเมา สามารถดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องศึกษา EIA เพราะไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ
อธิบดีกรมชลประทาน ในการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก ไม่ต้องประสานความร่วมมือกับเมียนมา เพราะเป็นการพัฒนาภายในประเทศและไม่กระทบกับลุ่มน้ำเมย พร้อมยืนยันกะบประชาชน และผู้ที่จะเข้ามาลงทุนว่าการสร้างอ่างเก็บน้ำในจังหวัดตาก จะไม่ได้รับกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งแน่นอน เนื่องจากการก่อสร้างผ่านการศึกษาอย่างรอบด้าน และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ โดยอ่างเก็บน้ำตอนบน จะสร้างโดยเขื่อนหินทิ้ง ที่มีความแข็งแกร่ง โครงสร้างแข็งแรง ส่วนอ่างเก็บน้ำตอนล่าง จะใช้เขื่อนดิน ที่มีความยืดหยุ่นสูง รวมทั้งมีการออกแบบรองรับแรงสั่นสะเทือนได้ 2 เท่า และยืนยันอีกด้วยว่ากรมชลประทาน จะจัดหาน้ำให้เพียงพอต่อภาคอุตสาหกรรม และจำนวนประชาชนที่จะเพิ่มขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้านี้แน่นอน
ปภาดา พูลสุข ผสข.