จากกระแสสังคมตอนนี้ที่ประชาชนมีความอยากรู้เรื่องมาตราฐานการอุ้มบุญที่ถูกกฏหมาย ในวันนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ สบส. นำโดย นาวาอากาศตรี นายแพทย์ บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้พาสื่อมวลชน มาเยี่ยมชม หน่วยผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาล ศิริราช พบว่า ภายในห้องปฏิบัติการจะแบ่งออกเป็น 3 ห้อง คือ ห้องเก็บไข่ ห้องเก็บสเปิร์ม และห้องแล็บปลอดเชื้อ ซึ่งจะมีนัก
วิทยาศาสตร์ดูแลเพื่อคัดเลือกไข่และสเปิร์มที่สมบูรณ์
ร.ศ.นพ.เรืองศิลป์ ชวรัตน์ หัวหน้าหน่วยผู้มีบุตรยาก ได้เปิดเผยว่า หน่วยผู้มีบุตรยากของโรงพยาบาลศิริราช เริ่มเปิดให้บริการมาปีนี้เป็นปีที่25 ซึ่งสถิติการรักษาตั้งแต่ปี2553-ปัจจุบันมียอดผู้ป่วยที่มีบุตรยากเกือบ30,000 คน ซึ่งก่อนให้บริการการอุ้มบุญ จะต้องมีการรักษาด้วยวิธีอื่นก่อน โดยจะมีการฉีดน้ำเชื้อ 3ครั้ง หากยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ จะเข้าสู่กระบวนการ การทำเด็กหลอดแก้ว 6ครั้ง และหากยังไม่มีบุตร จึงจะพิจารณาทำอุ้มบุญ ส่วนกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหา เช่น ไม่มีมดลูก หรือ มีเนื่องงอกที่มดลูก ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ แพทย์จะพิจารณาให้ทำอุ้มบุญ เช่นเดียวกัน ซึ่งจะต้องเป็นคู่สามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฏหมาย และผู้รับอุ้มบุญจะต้องเป็นญาติของคู่สามีภรรยาเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะมีผู้ป่วยจำนวนมาก ต้องการทำอุ้มบุญ แต่แพทย์จะยืดตามข้อบ่งชี้ของราชวิทยาลัยสูตินารีแพทยแห่งประเทศไทยและแพทยสภา ทำให้ที่ผ่านมาหน่วยผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลศิริราช ทำการอุ้มบุญให้กับคู่สมรสสำเร็จ เพียง 7 ราย แบ่งเป็นในปี2553 3 ราย และตั้งแต่ปี2554-2557 ปีละ1ราย ซึ่งเคสที่แพทย์ทำในปีนี้เด็กยังอยู่ในครรภ์ของแม่อุ้มบุญอยู่ รวมถึงใน7รายนี้มีบางส่วนที่มีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นชาวต่าวชาติ แต่มีสามีภรรยาที่ผิดหวัง แพทย์ไม่สามารถทำการอุ้มบุญได้ ปีละประมาณกว่า100 คู่ สาเหตุที่ไม่สามารถทำได้ เช่น พ่อและแม่เป็นลูกคนเดียว ทำให้ไม่มีญาติมารับอุ้มบุญ ซึ่งถือว่าผิดระเบียบแพทยสภา จะต้องมีการส่งเรื่องไปให้แพทยสภาพิจารณาเป็นรายกรณี ส่วนค่าใช้จ่ายในการอุ้มบุญของโรงพยาบาลศิริราช ราคาอยู่ที่หลักหมื่น แต่ไม่เกิน1แสนบาท
ด้านข้อบังคับการพิจารณาแม่อุ้มบุญ จะต้องพิจารณาจากสุขภาพของผู้อุ้มบุญ และจริยธรรม รวมถึงต้องเคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้ เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่ามีมดลูกที่มีประสิทธิภาพในการตั้งครรภ์