รมว.เกษตรฯ ย้ำ ระบายน้ำเหนือ-อีสานไม่กระทบกทม.เร่งทำความเข้าใจปชช.

17 ตุลาคม 2560, 16:21น.


ภาพรวมสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ โดยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ยืนยันว่า ปริมาณการระบายน้ำในพื้นที่ภาคเหนือและอีสานจะไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ส่วนทางด้านภาคเหนือพื้นที่ต้นน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้ปิดการระบายน้ำที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ และใช้พื้นที่แก้มลิงธรรมชาติที่ บางระกำ รองรับน้ำจากลุ่มน้ำยม 450 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้เมื่อมวลน้ำมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ จะดำเนินการระบายน้ำไป 2 ฝั่ง ควบคุมการระบายน้ำที่ 2,600 ลูกบากศ์เมตรต่อวินาที  และเมื่อพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ปริมาณฝนตกลดลง จะปรับการระบายน้ำลด โดยประเมินสถานการณ์รายวัน และในวันพรุ่งนี้ (17 ตุลาคม 2560)จะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนด้วย  ในที่ประชุม ครม. นายกรัฐมนตรีได้สั่งการเรื่องการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ทุกส่วนราชการเข้าดูแล โดยกระทรวงเกษตรกรรับผิดชอบงบประมาณเรื่องพื้นที่การเกษตร



ส่วนการระบายน้ำในพื้นที่ภาคอีสานยังมีปริมาณน้ำเดิมจากพายุเซนกา ในเขื่อนอุบลรัตน์ที่มีน้ำเต็มเขื่อน ระบายน้ำแบบขั้นบันไดตั้งแต่ 30 -46 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลกระทบใน จังหวัดมหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด ที่ตอนนี้ระดับน้ำท่วม 20-30 เซนติเมตร เชื่อมไปยังลุ่มน้ำมูล ผลักต่อไปแม่น้ำโขง ขณะที่การรองรับน้ำเขื่อนภูมิพลรองรับน้ำได้อีกร้อยละ 66 เขื่อนสิริกิติ์รองรับได้ร้อยละ 80 หากฝนตกเหนือเขื่อนจะไม่ได้รับผลกระทบ แต่หากฝนตกท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จะมีพื้นที่ทุ่งรับน้ำ 12 แห่ง รับได้กว่า 300 ล้านลูกบาศก์เมตร



ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ทั้งเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ได้ปิดการระบายน้ำ ส่วนเขื่อนแควน้อยลดการระบายน้ำ ขณะที่ปริมาณแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ยังมีพื้นที่แก้มลิง และพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่รองรับน้ำ โดยสถานีวัดน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ ขณะนี้ อยู่ที่ 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้อยกว่าปี 2554 ซึ่งมีปริมาณการไหลของน้ำ 5,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สำหรับเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณ ประมาณ 2,598  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้อยกว่า ปี 2554 ที่ 3,600  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที





ส่วนจุดที่จะส่งผลกับกรุงเทพฯ คือที่ บางไทร ซึ่งมีปริมารการไหลของน้ำ ที่ 2,600  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีน้อยกว่าค่าวิกฤติ 3,500  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และยังน้อยกว่าปี 2554 ที่มีค่า 3,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งยังอยู่ในปริมาณที่สามารถดูแลได้  ขณะที่ นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงเรื่องการรับรู้ของประชาชน โดยกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสื่อสาร ให้เกิดความชัดเจนให้ประชาชนทราบเพื่อให้เกิดการป้องกั

ข่าวทั้งหมด

X