เตรียมพระราชพิธียกนพปฎลมหาเศวตฉัตรพระเมรุมาศพรุ่งนี้ ขณะที่การก่อสร้างเสร็จแล้ว

17 ตุลาคม 2560, 14:30น.


พระราชพิธียกนพปฏลมหาเศวตฉัตรประดับพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันพรุ่งนี้   นางสาวศุกร รัตนพงศ์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผย พิธียกนพปฏลมหาเศวตฉัตรประดับพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ นั้นขณะนี้ได้เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว  โดยพระราชพิธียกนพปฏลมหาเศวตฉัตรจะมีขึ้นในวันที่18ต.ค. ในช่วงเวลา. 15.19-21.30น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินองค์เปนเป็นค์ประธาน



สำหรับการออกแบบนพปฏลมหาเศวตฉัตรได้นำต้นแบบมากพระเมรุมาศ รัชกาลที่6และพระเมรุมาศ รัชกาลที่8 จัดสร้างตามโบราณราชประเพณีใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ ตามความหมายคือ นพ แปลว่า เก้าเศวต แปลว่า ขาว ส่วนฉัตรคือร่มขาวที่กางทั้งหมด9ชั้นโดยการจัดสร้างครั้งนี้มีความพิเศษคือมีขนาดใหญ่ มีความสูงตั้งแต่ส่วนปลียอดจนถึงยอดสุด5.10เมตร ลักษณะของการทำฉัตร จัดทำด้วยผ้าเบาทิ้งตัวสีขาวมีขลิบทองรวมสามชั้นโดยนำผ้าสามผืนมาล้อมโครงในการขลิบทองเส้นขลลิาของฉัตรชั้นล่าง มีความหนาสุด และแขนประดับด้วยจำปา14ช่อห้อยลงมาให้เกิดความสวยงาม ที่สำคัญที่บริเวณส่วนยอดฉัตรมีลักษณะเป็นทรงองค์ระฆังจากนั้นเป็นบัวกลุ่ม คั่นด้วยลูกแก้ว บัวกลุ่มต่อด้วยปลีปลาย เป็นโลหะทองแดงกลึงรับ เพื่อต่อสายล่อฟ้าด้วย อย่างไรก็ตามการจัดสร้างครั้งนี้มีการให้ตาข่ายพลาสติก ใส่ไว้ในโครงสร้างเพื่อเวลาที่ฉัตรเจอลมแล้วจะไม่ยุบช่วยให้ทำให้การเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติและยังสามารถกลับมาอยู่ที่เดิมและไม่เป็นสนิ ม



การยกฉัตรทั้งหมด จะต้องมีการประกอบแกนฉัตรเป็นหลักและมีก้านออกไปเหมือนร่มการติดตั้งฉัตรต้องสลักเข้าเดือยให้แน่นหนา โดยเฉพาะปลายฉัตรจะต้องทำหน้าเป็นสายล่อฟ้า จึงต้องใช้โลหะทองแดงกลึงที่บริเวณปลายจะมีสายทิ่งดิ่งลงไปข้างล่าง การยกฉัตรต้องใช้ความระมัดระวัง สายทิ้งดิ่งจะตกไม่ได้ ช่างต้องผูกทองแดงเก็บไว้ เมื่อฉัตรเชื่อมกับสายทองแดงนี้พอดี  และยังต้องกันไม่ให้น้ำไหลผ่าน ตรงส่วนร่องตกมาที่ฟ้าซึ่งช่างได้ทำสังกะสีกันน้ำฝนไว้ เพื่อไม่ให้รั่วซึมเข้าสู่พระเมรุมาศ



อดุลย์ จันทร์สุข รายงาน 

ข่าวทั้งหมด

X