นายกฯ เชิญทรัมป์ เยือนไทย แม้จะมีการข่าวแต่ไม่พบการเคลื่อนไหวของไอเอส

07 ตุลาคม 2560, 11:43น.


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับการเดินทางมาปฏิบัติภารกิจ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามคำเชิญของนายโดนัลด์ เจ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ระหว่างการหารือทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 30 เมษายน ซึ่งเป็นการเดินทางเยือนของผู้นำอาเซียน คนที่ 3  เป็นการเยือนระดับนายกรัฐมนตรีของไทย อย่างเป็นทางการในรอบ 12 ปี ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน 2548 นานมากแล้ว โดยย้ำเรื่องการเลือกตั้งว่า การประกาศวันเลือกตั้ง จากนั้นต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการต่ออีกประมาณ 150 วัน ก็ยืนยันไปตาม Road Map แล้ว และก็ถือโอกาสว่า ถ้ามีเวลา ผู้นำสหรัฐฯก็ชื่นชมประเทศไทย บอกว่าประเทศไทยสวยงาม คนไทยก็น่ารัก ก็เห็นในภาพ อะไรต่าง ๆ ในวีดิทัศน์ อะไรต่าง ๆ หลายครั้ง ก็ถือโอกาสขอเชิญประธานาธิบดีทรัมป์ และภรรยาเยือนเมืองไทยด้วย  ในโอกาสที่อาจจะในช่วงเดินทางไปร่วมประชุมที่เอเชียในเดือนหน้านี้ หรือโอกาสอื่นตามความเหมาะสม 



อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคง ก็ยืนยันถึงความสำคัญของการฝึกคอบบร้าโกลด์ ซึ่งมีการฝึกร่วมกันมาถึง 35 ปีแล้ว มี 28 ประเทศที่ร่วมทำการฝึก แล้วเราก็ต้องการความร่วมมือจากสหรัฐฯในด้านการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีป้องกันประเทศเพราะสหรัฐฯ เป็นประเทศชั้นนำ ในเรื่องเหล่านี้ เราไม่ได้มีอาวุธเอาไว้เพื่อจะสู้รบกัน  เรามีไว้เพื่อไม่ให้เกิดการรบกัน ทำให้ขาดศักยภาพทางสงครามเท่านั้นเอง ก็คิดว่ายังมีความจำเป็นอยู่ อีกเรื่องคือ ภัยการก่อการร้าย วันนี้ยืนยันว่ายังไม่พบการเคลื่อนไหวของกลุ่มรัฐอิสลาม( ไอซิส) ในประเทศไทย แม้จะมีข่าวอยู่บ้าง ก็เป็นเรื่องของการลักลอบหรืออะไรทำนองนี้ ยังไม่มีเรื่องของการใช้อาวุธ ไม่มีเรื่องของการแสดงตัวออกมา ก็เหมือนการผ่านแดนอะไรหรือไม่ รู้สึกจะพบอยู่ครั้ง สองครั้งที่มี เพียงแต่เป็นชื่อ สำหรับในประเทศไทยก็ยังไม่มีใครที่จะไปร่วมการสู้รบ  อาจจะเห็นในเว็ปไซต์  ซึ่งวันนี้คนจะเขียนอะไรก็ได้ในเว็ปไซต์ เราก็ไม่ได้มีการติดตาม  เราก็ไม่เกี่ยวข้อง บางที่เอาสนุกก็เขียนไปเรื่อย ๆ  ใครชวนอะไรก็เห็นด้วยไปหมด วันนี้ต้องระมัดระวังการใช้โซเชียล



สำหรับปัญหาเรื่องทะเลจีนใต้ ก็เป็นเรื่องที่ส่งผลต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ และความไว้วางใจระหว่างจีนกับอาเซียน ทางสหรัฐฯและไทยในนามอาเซียนก็ขอให้สหรัฐฯ สนับสนุนบทบาทความเป็นกลาง แกนกลาง และความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนในการที่จะเจรจาแก้ปัญหาโดยสันติวิธี สำหรับประเทศไทยไม่ใช่คู่ขัดแย้ง ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องในเรื่องดินแดนอะไรต่าง ๆ เหล่านั้น แต่ไทยต้องสนับสนุนในเรื่องของการทำให้เป็นทะเลแห่งสันติภาพ



ในส่วนของประเด็นเกาหลีเหนือ อันนี้เป็นประเด็นร้อน ซึ่งไม่ได้เป็นการคาดคั้นอะไรกัน เพียงแต่ว่าได้สอบถามความคิดเห็นของเรากับเกาหลีเหนือ ไทยเองก็ยืนยันว่า เราต้องการเห็นความสงบในคาบสมุทรเกาหลี การแก้ปัญหาที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง และก็พร้อมที่จะร่วมมือกับสหรัฐ และประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อจะผลักดันให้เกาหลีเหนือนั้นกลับไปสู่โต๊ะเจรจา มากกว่าที่เราจะไปสู่ความรุนแรงระหว่างกัน อันนี้ก็ต้องหารือกันต่อไป ประเทศไทยก็ได้ทำตามพันธะสัญญามติสหประชาชาติทั้งสองข้างไปแล้ว และหลายอย่างเราก็ริเริ่มเอง อาทิ การลดความร่วมมือ การลด การควบคุมในเรื่องของการทำงานต่าง ๆ  ก็น้อยมาก อันนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญในประเด็นร้อน



CR:รัฐบาลไทย 

ข่าวทั้งหมด

X