การสัมมนาการปฏิบัติงานของกรรมการกฤษฎีกา กรรมการพัฒนากฎหมาย กรรมการประมวลกฎหมายและกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เปิดเผยว่า มาตรา 77 มีความเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา ตั้งแต่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ส่วนเรื่องการปรับปรุงกฎหมายต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ
สำหรับเนื้อหาของมาตรา 77 มี 3 วรรค วรรคหนึ่ง คือเรื่องนโยบายทั่วไป วรรคสอง เป็นเรื่องขั้นตอนในการเสนอกฎหมาย และวรรคสาม เป็นเนื้อหาซึ่งยังไม่สมบูรณ์ อยู่ระหว่างดำเนินการ ในเรื่องการลดระบบของกรรมการและการไม่มีโทษอาญาในสิ่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ขอยืนยันว่ากฤษฎีกาไม่ได้เป็นเจ้าของเรื่อง แต่เป็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งหากเรื่องใดกฤษฎีกาเห็นว่ายังไม่ได้ดำเนินการก็จะส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเรื่อง หากเรื่องได้ถูกส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้วทางสภาเห็นว่าไม่มีความละเอียดมากพอก็จะส่งเรื่องกลับไปที่หน่วยงานเจ้าของเรื่องได้เช่นเดียวกัน หรือทางสภาจะเป็นผู้ดำเนินการเองก็ได้ โดยเรื่องทั้งหมดจะอยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติ
สำหรับการจัดสัมมนาในวันนี้ (2 ต.ค.) ได้เคยดำเนินการมาแล้ว 6-7 ครั้ง เพื่อซักซ้อมความเข้าใจ ครั้งนี้ถือเป็นการทำความเข้าใจกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของกรรมการแม่น้ำ 4 สาย ของกฤษฎีกา คือกรรมการร่างกฎหมาย กรรมการพัฒนากฎหมาย กรรมการประมวลกฎหมายและกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ทั้งหมดนี้เป็นคณะกรรมการหลักของกฤษฎีกาและมีอำนาจในการจัดทำเนื้อหาให้ถูกต้อง และเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนเสนอเข้าสู่สภา
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายชัดชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิเสธรับตำแหน่งกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ว่า ไม่ใช่เรื่องเสียหน้าของรัฐบาล ที่มีการประกาศรายชื่อแล้ว มีบุคคลไม่ยอมรับตำแหน่ง และไม่ใช่การสื่อสารผิดพลาดระหว่างการทาบทาม เพราะไม่ได้เป็นผู้ทาบทามด้วยตนเอง แต่มีทีมงานรับไปดำเนินการ และแจ้งกลับมา อย่างไรก็ตามยอมรับว่าเสียดายและเสียใจในความรู้ความสามารถ เพราะส่วนตัวก็เคยปฏิเสธบางตำแหน่งเช่นกัน แต่จะยังไม่มีการแต่งตั้งเพิ่มเติมในเวลาอันใกล้นี้
นายวิษณุยืนยันด้วยว่ากรรมการแต่ละคนมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ไม่ได้มาตามเส้นทางตามที่นายศรีสุวรรณ จรรยา ประธานสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวอ้าง ซึ่งกรณีของนายชัชชาติ ทางอุปนายกสภาวิศวกรรมเป็นผู้เสนอชื่อว่ามีความเหมาะสม ส่วนคนอื่นๆ จะทยอยเผยถึงคุณสมบัติแต่ละคนต่อไป
นอกจากนี้ส่วนตัวยังเตรียมนำคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 120 คน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 90 เพื่อรับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่สามารถกำหนดวันที่ชัดเจนไม่ได้ ต้องรอนายกรัฐมนตรีกลับมาก่อน ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ อยากให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นัดประชุมเพื่อวางวิธีการและสถานที่ก่อน ซึ่งยังไม่ลงในเนื้อหา จากนั้นเมื่อนายกรัฐมนตรีประสงค์ให้เข้าพบ จึงจะนำคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด เข้าพบนายกรัฐมนตรีต่อไป
...
ผสข.ปิยะธิดา เพชรดี