องค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ระบุ แรงงานต่างด้าวในภาคประมงไทย1ใน3คือเหยื่อค้ามนุษย์

22 กันยายน 2560, 07:30น.


มูลนิธิทอมสัน รอยเตอร์ (Thomson Reuters Foundation) นำเสนอรายงานที่ระบุว่า ในช่วงนานกว่า 5 ปีมานี้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในภาคการประมงของไทยจำนวนมากถึง 1ใน3 คือเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ และมีความเป็นไปได้ว่า แรงงานภาคอุตสาหกรรมอื่นก็จะเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์เช่นกัน กลุ่มภารกิจความยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ไอเจเอ็ม (International Justice Mission: IJM) ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรเอกชนที่ทำงานต่อต้านการค้ามนุษย์ ระบุในรายงานว่า แรงงาน 3ใน4 ของภาคการประมงไทยถูกผูกมัดการทำงานไว้กับภาระหนี้สิน จึงต้องทำงานเพื่อชดใช้ภาระหนี้สินเหล่านั้น และเป็นเวลานานหลายปีมาแล้วที่การค้าอาหารทะเลมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ของไทยถูกตรวจสอบและจับตามองเรื่องการค้ามนุษย์ การใช้ความรุนแรงขณะที่อยู่ในเรือประมงไปจนถึงในโรงงานแปรรูปอาหารบนบก แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศนโยบายปราบปรามการค้ามนุษย์และออกกฏหมายเพื่อปฏิรูปการทำประมง โดยไทยยังเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก



โดยในการสำรวจที่มีขึ้นในปี 2559 ไอเจเอ็ม สอบถามแรงงานประมงกลุ่มตัวอย่าง 260 คนจากเมียนมา และกัมพูชา ซึ่งทำงานอยู่ใน 20 จุดพบว่าร้อยละ 38 เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ โดยอีกร้อยละ 49 อาจเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ มีเพียงร้อยละ 13 ที่มีการทำงานที่มีแรงงานที่เป็นธรรมในทะเลและไม่ได้ผ่านการสรรหาบุคคลากรอย่างไม่เหมาะสม 3ใน4 มีการทำงานอย่างน้อย 16 ชั่วโมงต่อวันและมีเพียงร้อยละ 11 ที่ได้รับเงินเดือนมากกว่า 9,000 บาทซึ่งเป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายในประเทศไทย


...


 


(Thomson Reuters Foundation, news.trust.org) 
ข่าวทั้งหมด

X