การปรองดอง นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เรื่องการปรองดองขณะนี้ ดำเนินการในระดับตำบล และหมู่บ้าน ในการดำเนินการของโรดแม็พ ขั้นที่ 2 เชื่อว่า จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ถ้าได้รับความร่วมมือจากประชาชน และเราก็ต้องทำงานตามแผนปฏิบัติจริง เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจ รวมถึงอธิบายการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ของ คสช.ในขณะนี้ด้วย เพื่อให้ประชาชนมีความสุขเพิ่มขึ้น ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ข้าราชการทุกคนก็ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างประโยชน์แก่บ้านเมือง แต่ถ้ามีผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ ก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการประเมิน
ส่วนของวิทยากรอำนวยการทางทหารลงไปตามพื้นที่เป้าหมาย ในระยะ 2 เดือนแรก ก็จะมีการพูดคุยกับประชาชนในหัวข้อต่างๆ โดยแต่ละหมู่บ้าน ก็จะมีหัวข้อที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัด และรองผู้อำนวยการ (กอ.รมน.) ซึ่งเป็นตัวแทนของ (กอ.รมน.) ภาค และส่วนราชการต่างๆ จะเป็นผู้ที่รับฟังปัญหาของประชาชน แล้วนำมาเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์ดำรงธรรม แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เกินกว่าอำนาจของศูนย์ดำรงธรรม ก็จะส่งต่อให้ส่วนกลางเป็นผู้รับผิดชอบดูแล
นอกจากนี้ ยังต้องมีการปลูกฝังในเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในส่วนต่างๆ เหล่านี้ เป็นการทำงานที่ประสานสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับ คสช. โดยประเด็น 11 ข้อที่ พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) ได้ให้ไว้นั้น ได้มีการรับความคิดเห็นเพิ่มเติม ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นปฏิรูปที่ปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธานอยู่ในขณะนี้ และจะนำไปสู่สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่กำลังจะตั้งขึ้น
ส่วนปัญหาหลักจากการรวบรวมข้อมูลของจังหวัดต่างๆ ตามโรดแม็พ ขั้นที่ 1 นั้น เรื่องใหญ่ก็มีอยู่หลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การบริหารราชการ ปัญหาข้อกฎหมาย ความเดือดร้อนของประชาชน โดยในการทำงานตามโรดแม็พ ขั้นที่ 1 ในส่วนของจังหวัดต่างๆ ได้วัดจากการประเมิน และตรวจสอบแล้ว ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่น่าพอใจ แต่ข้อเสนอบางเรื่องที่ต้องลงในรายละเอียด