การเสวนาเชิงวิชาการสู่ความเป็นเลิศในธุรกิจการท่าเรือและโลจิสติกส์ ภายใต้หัวข้อ "PAT International Conferrence 2017 : Port of The Future" เรือตรีทรงธรรม จันทประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายวิศวกรรม เปิดเผยว่า การเสวนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหาร การพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ เพื่อนำพาองค์กรสู่ความเป็นเลิศในธุรกิจการท่าเรือและโลจิสติกส์ และนำความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานของการท่าเรือให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่อาเซียน อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำเสนอ กรณีศึกษาการพัฒนาท่าเรือสู่การเป็นท่าเรือระดับโลก (World Class Port) รูปแบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย การปรับตัวของท่าเรือชั้นนำเพื่อรองรับพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาชั้นนำของโลกด้านธุรกิจการท่าเรือ
โดยแนวทางการมุ่งสู่การเป็นท่าเรือระดับโลกว่า จะต้องปรับระบบการให้บริการพื้นฐาน โดยท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือหลักของประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลกำลังผลักดัน ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างเฟส 3 ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปี ประมาณปี 2565-2566 จะสามารถเปิดท่าเรือแห่งแรกได้ และจะเชื่อมต่อกับการคมนาคมขนส่งทางราง ได้แก่ รถไฟรางคู่ ที่รัฐบาลกำลังก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้ประสบปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาอุบัติเหตุ ปัจจุบัน ท่าเรือแหลมฉบังประสบปัญหาค่าใช้จ่าย จึงปรับลดค่าใช้จ่ายลง และยอมรับว่าท่าเรือแหลมฉบัง ยังไม่สามารถเทียบกับท่าเรือสิงคโปร์กับฮ่องกงได้ แต่ไม่ถือว่าน้อยหน้าท่าเรืออื่นๆ ซึ่งการบริหารงานส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาบริหารงาน และในอีก 5 ปีข้างหน้า การท่าเรือแห่งประเทศไทย จะให้ความสำคัญกับท่าเรือชายฝั่ง ที่ใช้ร่วมกับท่าเรืออินเตอร์ และคาดว่าภายในปี 2562 การท่าเรือจะสามารถให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือได้
สำหรับ การทำงานในปัจจุบัน การท่าเรือแห่งประเทศไทย มีการประสานงานกับกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานในแต่ละนโยบาย เพื่อให้การทำงานควบคู่กันไปทุกภาคส่วน แตกต่างจากในอดีตที่ต่างคนต่างทำ จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น