*แพทย์ชี้รับจ้างอุ้มบุญในไทยทำง่ายเพราะมีช่องโหว่กม. -ตรวจสอบยาก*

05 สิงหาคม 2557, 17:43น.


หลังจากที่มีข่าว สาวชาวไทย รับจ้างอุ้มบุญให้กับชาวต่างชาติ และเมื่อคลอดออกมาเป็นเด็กแฝด แต่มีเด็ก 1คนป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม ทำให้ชาวต่างชาติทิ้งเด็กคนดังกล่าวไว้กรณีนี้ทำให้สังคมไทยหันมาสนใจ ปัญหาการอุ้มบุญมากขึ้น



จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มเป้าหมายของนายหน้า จะเลือกผู้หญิงที่มีอายุประมาณ 20-33 ปี เนื่องจากนายหน้าจะใช้เงินจำนวนมากเป็นสิ่งล่อตาล่อใจ บางคนก่อนมาอุ้มบุญจะขายไข่ของตัวเองก่อน เมื่อมีการซื้อขายไข่กับนายหน้า2-3ครั้ง ก็จะถูกชักชวนให้อุ้มบุญ เนื่องจากจะได้เงินมากกว่า แต่การอุ้มบุญจะส่งผลเสียทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อผู้อุ้มบุญ



น.พ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเวชศาสตร์การเจริญวัย โรงพยาบาลพญาไท2 ได้ชี้แจงว่า ผู้ที่อุ้มบุญ จะมีความเสี่ยงเทียบเท่ากับผู้หญิงตั้งครรภ์ปกติ แต่ในระยะยาว จะมีความเสี่ยง เนื่องจากในช่วงอายุ20-35ปี เป็นช่วงสะสม มวลกระดูก แต่การตั้งครรภ์จะทำให้ดารสะสมมวลกระดูกหยุดชะงัก รวมถึงเด็กจะดูดสารอาหารตลอดเวลา หากทานไม่เพียงพอ จะทำให้ขาดสารอาหาร เมื่ออายุ50ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับกระดูก



ส่วนเรื่องการตรวจสอบ ถือว่า การซักประวัติยังมีช่องโห่วหลายอย่าง เนื่องจาก ทางการแพทย์ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า การตั้งครรภ์ ใดเป็นการอุ้มบุญ เพราะบางกรณีอาจทำการอุ้มบุญจากสถานพยาบาลอื่นและมาฝากครรภ์อีกสถานพยาบาลหนึ่ง การตรวจสอบจะทำได้ ก็ต่อเมื่อ เด็กคลอดออกมา จึงจะสามารถตรวจดีเอ็นเอได้



น.พ.ธีรยุทธ์ ได้แสดงความเห็นว่าการรับจ้างอุ้มบุญ ถือว่าเป็นเรื่องไม่สมควรทำ และเมื่อมีการจ่ายค่าจ้าง ก็ถือว่าเข้าข่ายการค้ามนุษย์ ส่วนกรณีการรับจ้างอุ้มบุญ น้องแกมมี่ ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบความผิดในด้านต่างๆ ซึ่งในตอนแรกมีข่าวว่า นางภัทรมล จันทร์บัว ผู้รับจ้างอุ้มบุญ ให้สัมภาษณ์ คลอดน้องแกมมี่ที่โรงพยาบาล ย่านสมุทรปราการ แต่ต่อมาพบว่า โรงพยาบาลดังกล่าวปิดตัวลงและเป็นชื่อโรงพยาบาลไปแล้ว และล่าสุดพบว่ามีสถานพยาบาลย่ายเพลินจิตมีความพัวพันกับกรณีการรับจ้างอุ้มบุญ ซึ่งต้องรอการสืบสวนสอบสวนต่อไป



สำหรับการอุ้มบุญ ตามปกติแล้ว การจะตั้งครรภ์ได้ ต้องประกอบด้วย สเปิร์ม ไข่ และมดลูก ซึ่งทั้ง3สิ่งต้องสมบูรณ์ แต่หากมีส่วนได้ไม่สมบูรณ์ สามารถใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์  เข้ามาช่วยได้ โดยจะแบ่งเป็น2กรณี คือ ไข่ไม่สมบูรณ์ กับ มดลูกไม่สมบูรณ์ แต่สเปิร์ม จะต้องมีความสมบูรณ์ เนื่องจากไม่สามารถนำสเปริมของคนอื่นมาใช้แทนกันได้



ส่วนกรณีไข่ไม่สมบูรณ์ จะสามารถใช้ไข่ของคนอื่นได้ ซึ่งตามกฏหมายไทย อนุญาตให้ใช้ไข่ของญาติฝ่ายหญิงได้ ส่วนกรณีมดลูกไม่สมบูรณ์ สามารถใช้มดลูกของญาติฝ่ายพ่อ หรือฝ่ายแม่ได้ ซึ่งกรณียืมมดลูกคนอื่น เรียกว่า การอุ้มบุญ แต่ไม่ใช่ว่าใครๆจะอุ้มบุญได้ กระบวนการทั้งหมดต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา ซึ่งโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะมีการพิจารณาเป็นรายกรณี ว่าการอุ้มบุญมีความเสี่ยงหรือไม่ บางโรงพยาบาลมีการนำเคสการอุ้มบุญเข้าพิจารณาโดยบคณะกรรมการจริยธรรมประจำโรงพยาบาล เลยเนื่องจากยังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากว่ามีความเสี่ยงอันตรายและไม่เหมาะสม  



บุศรินทร์/ภาพ-ข่าว

ข่าวทั้งหมด

X