ชุมชนเข้มแข็ง รักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ หลังจาก เมื่อวานได้ศึกษาการป้องกันปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งอ่าวตราด ที่ตำบลตะกาง อำเภอเมือง จังหวัดตราก ที่ชาวบ้านในจังหวัดได้ช่วยกันพัฒนาพลิกฟื้นพื้นที่ป่าชายเลน ที่เคยเสื่อมโทรมจากในอดีตที่มีการบุกรุกของกลุ่มนายทุนที่เข้ามาทำสัมปทานบ่อกุ้ง และตัดต้นโกงกางไปทำถ่านหุงต้มนั้น จนทำให้ระบบนิเวศในชุมชนทรุดโทรมเสียหาย จนทำให้ชาวบ้านในพื้นที่รวมตัวกันคัดค้านนายทุนได้สำเร็จ และร่วมกันพัฒนาพื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนอีกครั้ง
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอ่าวตราดอย่างยั่งยืนนั้น นางสาวศิริวรรณ บุตรราช ประธานเครือข่ายองค์กรชุมชนคนตราด เปิดเผยว่า พื้นที่อ่าวตราดมีพื้นที่ติดกันใน 8ตำบลของจังหวัดตราด ฝั่งทะเลอ่าวไทย และมีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา โดยประชาชนในพื้นที่ในจังหวัดได้รวมตัวเป็นเครื่องข่ายภาคประชาชนจาก 43เครื่องข่าย คนรักตราดขึ้น และคอยประชุมร่วมกันในทุกๆเดือนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดตราดในทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติบริเวณอ่าวตราดให้มีความสมบูรณ์ในระบบนิเวศ
โดยเริ่มโครงการ "ป่าเดินได้" มากว่า 30ปี โดยจุดประสงค์ที่จะเพิ่มพื้นดินลงสู่ทะเลให้เพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยการร่วมมือจากชาวบ้านในแต่ละชุมชนที่จะนำไม้ไผ่ไปปักในทะเลเพื่อกั้นไม่ให้ตะกอนดินที่ไหลมากับแหล่งน้ำธรรมชาติไหลลงสู่ทะเล จนเกิดการทับถมเป็นพื้นดิน ก่อนที่จะมีการปลูกป่าชายเลนจากต้นโกงกาง และต้นแสมในทุกปี ซึ่งเป็นการทำให้สัตว์น้ำขนาดเล็กได้มีที่เพาะพันธุ์และมีที่อยู่ในผืนป่าชายเลน และยังทำให้ระบบนิเวศในอ่าวตราดมีความสมบูรณฺในด้านทรัพยากรอย่างยั่งยืน และทำให้ประชาชนในจังหวัดมีทรัพยากรอาหารที่สมบูรณ์ตลอดทั้งปี
จังหวัดตราดเป็นจังหวัดที่มี แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ เกาะช้างและเกาะกูด โดยช่วงที่ควรท่องเที่ยวอยู่ในเดือน ตุลาคม-มีนาคม และในช่วงเดือนพฤษภาคมก็จะเป็นช่วงเริ่มออกของผลไม้รสอร่อย เช่น สละ ระกำ ลองกอง ทุเรียนและมังคุด