หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. โดยศูนย์การต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ หรือ ศอ.ตช. ถึงบัญชีรายชื่อ ของผู้ที่ได้รับการร้องเรียน หรือผู้กล่าวหาว่าใช้อำนาจหน้าที่ แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเมื่อ กระเป๋าเสร็จเรียบร้อยเห็นว่ามีมูลความผิดที่จำเป็นต้องตรวจสอบ เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ โดยแบ่งอำนาจหน้าที่ออกเป็น 4 กลุ่ม คือผู้บริหารสถานศึกษา 1 ราย โดยระงับการปฎิบัติราชการหรือหน้าที่ในตำแหน่งเดิมเป็นการช่วงคราวแต่ยังคงได้รับเงินเดือน /ข้าราชการพลเรือน 6 ราย /พนักงานอื่นๆของรัฐ 2 /ผู้บริการองค์กรส่วนท้องถิ่น 37 ราย /ข้าราชการองค์กรส่วนท้องถิ่นทั้งสิ้น 24 ราย รวมทั้งสิ้น 70 คน และเมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดเรียบร้อยในขั้นตอนต่อไปจะให้ ศอตช. แจ้งข้อเท็จจริงให้กับหน่วยงานที่ทั้ง 70 คนนั้นสังกัดและได้รับข้อร้องเรียนถึงสาเหตุของการตรวจสอบ โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใน 30 วัน หลังจากได้รับแจ้ง หากไม่พบการกระทำความผิด ให้สรุปผลการตรวจสอบหลักฐานที่มีอยู่ เพื่อแจ้งให้ ศอตช. ทราบ โดยจะมีการตรวจสอบอีกครั้งโดยคณะกรรมการที่เป็นกลางเพื่อเปรียบเทียบและหากพบการกระทำความผิดก็จะดำเนินการหารือให้ได้ข้อสรุปและในขั้นต่อไป
ส่วนกรณีการแก้ไขแรงงานต่างด้าว สืบเนื่องจากพระราชกำหนดบริหารจัดงานแรงงานต่างด้าว ที่มีโทษค่อนข้างรุนแรงทั้งนายจ้างและลูกจ้าง จากการตรวจสอบยังคงมีแรงงานเข้ามาทำงานโดยผิดกฎหมาย จำนวนมาก คสช. จึงออกคำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อชะลอ การบังคับใช้ใน 4 มาตรา ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 23 มิถุนายน 2560 ไปบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2561 เพื่อให้แรงงานตั้งหลายได้ตรวจสอบว่า ตนเองได้เข้าเมืองทางผิดกฎหมายหรือไม่ จะต้องกลับไปที่ประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย และหากมีการเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายแต่เอกสารมีข้อผิดพลาด ให้เดินทางไปรายงานตนและแก้ไขรายละเอียดได้ที่สำนักงานจัดหาแรงงานในทุกจังหวัด และเมื่อดำเนินการเช่นนี้แล้ว อาจจะเกิดปัญหาแรงงานขาดตลาด เนื่องจากการดำเนินการมีระยะเวลานาน และรัฐบาลไม่ได้ต้องการให้ดำเนินการผิดกฎหมาย แต่ต้องการที่จะจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเพื่อความปลอดภัยและสิทธิประโยชน์ของแรงงาน
รัฐบาลจึงมีมาตราการดำเนินการเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม -7 สิงหาคม 2560 ให้นายจ้างและลูกจ้างเดินทางไป แจ้งข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างกันเพื่อเก็บข้อมูล โดยกัมพูชาและพม่าจะสามารถไปรายงานตัวที่จุดต่างๆทั่วทั้งประเทศ และในกรุงเทพมหานคร คือ กระทรวงแรงงาน/ไอที สแคว /กรมยุทธศึกษาทหารบก /สวนกีฬารามอินทรา /ธัญญาปาร์ค /หอประชุมกรุงเทพสุวรรณภูมิ /สถานีขนส่งสายใต้/กองความปลอดภัยด้านแรงงาน / อาคารสโมสรวังนันทอุทยาน/สำเพ็ง2 ปาร์ค และศูนย์กีฬาบางขุนเทียนเคหะชุมชน หลังจากแจ้งเสร็จจะดำเนินการขับเคลื่อนเปิดศูนย์ one stop service เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างประเทศ และไม่จำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางแต่ประเทศลาวยังหาข้อสรุปไม่ได้ ตั้งนี้กระบวนการดังกล่าวจะอย่างไรก็ตามศูนย์ดังกล่าวไม่สามารถให้อยู่ยาวได้ เพียงแต่เป็นการยืดระยะเวลาการทำงานให้ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2561 เท่านั้น