ผู้เชี่ยวชาญ เตือนรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ กระทบกทม.
689
https://www.js100.com/en/site/news/view/4226
COPY
31 กรกฎาคม 2557, 16:42น.
การเฝ้าระวังภัยพิบัติ ของอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธากรุงเทพมหานครเป็นประธานในการเสวนาในเรื่อง "อาคารเก่าในยุคใหม่ พร้อมรับมือภัยพิบัติ"
นายศักดิ์ชัย ยวงตระกูล รักษาการ อุปนายกคนที่1 สภาสถาปนิก กล่าวว่า ก่อนที่วิศวกรจะสร้างอาคาร จะต้องศึกษาปัจจัยในด้านรอบๆพื้นที่ของอาคาร และพื้นดินเป็นพื้นฐาน โดยทุกๆอาคารไม่ควรสร้างสระน้ำ แท้งน้ำหรือวัตถุที่มีน้ำหนักอยู่ด้านบนอาคาร เพราะถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวมันก็จะทำให้อาคารพังทลายลงมาได้ง่าย และในปัจจุบันอาคารสูงในกรุงเทพมักจะใช้พื้นที่เต็มบริเวณ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ควรจะมีการเว้นพื้นที่โดยรอบไว้บ้างเพื่อความปลอดภัยแก่อาคารใกล้เคียง ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ในกรุงเทพฯมีอาคารสูงที่สร้างก่อนปี 2550 มากถึง ร้อยละ 70-80
รศ.ดร.อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกรและกรรมการอำนวยการสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) กล่าวว่า การแผ่นดินไหวในประเทศไทยมักจะเกิดในภาคเหนือ และภาคตะวันตก แต่รอยเลื่อนที่อาจจะกระทบต่อกรุงเทพฯ มากที่สุดคือ คือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเรื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งอยู่หาก กทม.ไม่เกิน 400กิโลเมตร ซึ่งในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2550 ก็มีกฎหมายที่ให้ทุกอาคารจะต้องสามารถรองรับแผ่นดินไหวให้ได้ และในทุกอาคารจะต้องมีระบบป้องกันภัย อาทิ ทางหนีไฟ ไฟสำรอง อุปกรณ์ป้องกันภัยในอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ใช้อาคาร
ข่าวทั้งหมด