รองนายกฯ เห็นด้วยให้วิศวกรไทยร่วมโครงการรถไฟไทย-จีน ไม่ยืนยันระบบไพรมารีโหวต แก้ซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้

19 มิถุนายน 2560, 14:49น.


กรณีที่ระบุว่าการเพิ่มเงื่อนไขการเลือกตัวแทนพรรคการเมืองในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือระบบไพรมารีโหวต เป็นการเพิ่มภาระ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้วและไม่เข้าใจว่าภาระที่เพิ่มขึ้นหมายถึงอะไร ซึ่งตามสาระที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองเพิ่มเติมคือการเสนอรายชื่อต้องผ่านสาขา ซึ่งหากพื้นที่ใดไม่มีก็จะต้องเร่งจัดตั้ง ทั้งนี้เมื่อออกมาเป็นกฎหมายก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เป็นผู้ชี้แจง แต่ในระหว่างที่ยังไม่ประกาศใช้เป็นกฎหมายก็เป็นหน้าที่ของกรรมาธิการวิสามัญ จะต้องเป็นผู้ทำความเข้าใจ นายวิษณุ ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า ระบบไพรมารีโหวต จะสามารถแก้ปัญหาซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้หรือไม่



พร้อมกันนี้นายวิษณุ ยังกล่าวถึงการออกคำสั่งมาตรา 44 เร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน เส้นทางกรุงเทพนครราชสีมา ว่าในวันนี้ได้เชิญสภาสถาปนิกและสภาวิศวกรรรม เข้ามาพูดคุยหารือ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยพูดคุยกันมาบ้างแล้ว ส่วนข้อเรียกร้องให้มีวิศวกรไทยเข้าไปมีส่วนร่วมบ้าง ถือเป็นข้อเสนอที่ดีและสามารถทำได้ หลังจากนี้จะต้องมีการจัดทำสัญญาซึ่งจะมีการระบุถึงปัญหาและข้อกังวลในการดำเนินโครงการ ซึ่งขณะนี้จะต้องดูว่าสัญญาฉบับดังกล่าวจะต้องเสนอเข้าสู่สภานิติบัญญัติ(สนช.)หรือไม่  เพราะสัญญาดังกล่าวเป็นสัญาการจัดทำตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากจำเป็นก็ยินดีนำเข้าสู่การพิจารณาของสนช. แต่ส่วนไม่ทราบกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน



นายวิษณุ ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกรณีการจัดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นการจัดทำร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีผู้ต่อต้านในหลายๆ ครั้ง ขณะเดียวกันเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการยกร่าง และไม่ส่งเข้ามายังพิจารณา ซึ่งแนวทางกฎหมายที่จะออกมาเป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณะสุข ในส่วนตัวจึงไม่ทราบในเรื่องดังกล่าว แต่คาดว่ากระทรวงสาธารณสุขจะรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ทราบในวันพรุ่งนี้



ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ นายวิษณุ  เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการดำเนินโครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ หรือ Government Innovation Lab โดยโครงการดังกล่าว เป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการห้องปฎิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ รวมไปถึงการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ในการนำร่องการดำเนินงานตามโครงการห้องปฎิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ โดยโครงการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อนำร่องการพัฒนางานบริการภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาชนในสี่เรื่องในการแก้ไขปัญหาระบบการรอคิวตรวจรักษาภายในโรงพยาบาล /การแก้ไขปัญหาความล่าช้าในกระบวนการ ทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร /การปรับกระบวนการออกมาตรฐาน ISO ปฏิบัติการทดลองเพื่อส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ /การแก้ไขปัญหา ประชาชนในระดับพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและความต้องการต่างๆ





ผู้สื่อข่าว:ปิยะธิดา เพชรดี



 



 



 

ข่าวทั้งหมด

X