วสท.ชี้ไทยเสี่ยงอาคารสูงไฟไหม้ ยังไม่มีกม.ควบคุมการใช้วัสดุติดไฟง่าย

17 มิถุนายน 2560, 16:20น.


การตรวจสอบอาคารสูงในประเทศไทย หลังเกิดไฟไหม้เกรนเฟลทาวเวอร์ ตึกสูง 24 ชั้น ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษนายพิชญะ จันทรานุวัฒน์ กรรมการและเลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)ให้ข้อมูลกับจส.100 ว่า โครงสร้างอาคารในประเทศอังกฤษ มีกฏหมายเกี่ยวกับการใช้วัสดุการต้านทานไฟในการก่อสร้างอาคารค่อนข้างดี เป็นต้นแบบของทั่วโลก แต่ครั้งนี้น่าจะเป็นความผิดพลาดของการเลือกวัสดุ วัสดุที่นำมาใช้เป็นผนังอาคารเป็นวัสดุที่ติดไฟได้เป็นส่วนประกอบแล้วลุกลามที่เห็นตามภาพที่เป็นสีเหลืองๆแล้วมีขี้เถ้า เป็นฉนวนที่อยู่ในแผ่นโลหะเพื่อความสวยงาม และเพื่อป้องกันอากาศเย็นไม่ให้เข้าไปในอาคารเพราะเป็นเมืองหนาว  การลุกไหม้ที่เห็นยังถือว่าไม่รุนแรงเป็นเพียงระดับกลาง  การไหม้นานอาจเป็นการไหม้ในซอกเล็กๆ จากที่เห็นตอนเริ่มไหม้ช่วงแรกๆ จะเป็นลักษณะไฟลามรอบตึกถือว่าลุกลามช้ากว่าวัสดุบางประเภท



นายพิชญะ กล่าวว่า ถ้าเทียบกับประเทศไทยสมัยก่อน ใช้ทาสี ก่ออิฐ ฉาบปูน แกรนิต หินอ่อน ไม่มีปัญหา แต่ปัจจุบันมีการใช้วัสดุที่สมัยใหม่ เป็นเมททาลิค เป็นอลูมิเนียม แต่อลูมิเนียม มีราคาแพง หนา และน้ำหนักมาก แต่ตรงกลางใส่วัสดุอื่นเคลือบอลูมิเนียม ในปัจจุบันเห็นว่า อาคารหรือตึกในประเทศไทยมีการใช้โพลีเอทีลีนหรือพลาสติกของแข็งกันมาก เนื่องจากมีความหนา แข็งแรง มวลเยอะ เนื้อเยอะ นิยมใช้เป็นแกนกลางให้อลูมิเนียมคงรูป และสวยงาม หรืออาจจะใช้ แร่อีกชนิดหนึ่งที่ใส่สารหน่วงไฟเป็นแกนกลาง ซึ่ง2อย่างนี้ราคาแตกต่างกัน แร่จะแพง พลาสติกจะถูก จะเห็นว่า ในประเทศสิงคโปร์  ห้ามใช้พลาสติกในตึกสูงเกิน 15 เมตร  หรือ 3-4 ชั้น ขึ้นไป  แต่บ้านเรายังไม่มีกฏหมายควบคุม จะเห็นว่าประเทศไทยใช้โพลีเอทีลีนในตึกสูงจำนวนมาก จึงทำให้เกิดอันตรายหากเกินไฟไหม้ ซึ่งกรมโยธาธิการผังเมือง ยังไม่ได้ตกผลึกออกมาเป็นกฎหมาย เป็นเพียงการพูดคุยและอยู่ในกระบวนร่างให้ครอบคลุมคำนึงถึงความปลอดภัยมากที่สุด ในส่วนของวสท.ได้ให้ความรู้กับหน่วยงานภาครัฐอยู่แล้ว



CR: FB วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(วสท.) Engineering Institute of Thailand 



 



 

ข่าวทั้งหมด

X