+++คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ถ่ายทอดสดผ่านทีวีพูล ชี้แจงที่มาและรายละเอียดของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว หลังจากที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรับพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 บุคคลที่แถลงประกอบด้วย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ที่ปรึกษาหัวหน้าคสช. และนายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคสช.
+++ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร ชี้แจงว่า แม้จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แต่จะเห็นได้ว่า บ้านเมือง มีกฎกติกาแล้ว เนื่องจาก เป็นหลักกฎหมายสูงสุดของประเทศ ความชัดเจนการดำเนินการในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมูข แสดงให้เห็นว่า เป็นไปตามการปฎิบัติตามพันธะสัญญาของคสช. ถึงกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรย่อมสร้างความเชื่อมั่น และเห็นถึงจุดหมายที่ชัดเจน ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร กล่าวว่า มีบทบัญญัติที่ชัดเจนถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในเรื่องต่าง ๆเช่น พระราชอำนาจในการอภัยโทษ พระราชอำนาจการแต่งตั้งบุคคลต่างๆ
+++ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ค่อนข้างจะยาวกว่าฉบับอื่น เนื่องจาก ยืนยันถึงพระราชอำนาจของพระเจ้าอยู่หัวศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร ชี้แจงที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ว่ามีที่มาจากที่คสช. มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมาย ร่วมกันรับผิดชอบยกร่างเพื่อใช้บังคับ โดยยึดหลักนิติรัฐ หลักการยกร่าง คือคณะทำงานปรึกษาและขอความเห็นชอบในประเด็นสำคัญจากหัวหน้าคสช. และปรึกษากับคณะที่ปรึกษาของคสช. เมื่อยกร่างเสร็จแล้ว ให้สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดพิเศษพิจารณาร่วมกับคณะทำงานตรวจแก้ร่าง จากนั้นนำเข้าสู่ที่ประชุมคสช. และพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อย จากนั้นให้ความเห็นชอบและให้หัวหน้าคสช.นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูกกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
+++ส่วนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ จัดโครงสร้างองค์กรต่างๆ อย่างชัดเจน องค์กรแรกคือพระมหากษัตริย์ เขียนชัดเจนถึงพระราชอำนาจในเรื่องต่างๆ พระราชอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายในร่างรัฐธรรมนูญ การทำสัญญากับนานาประเทศ นอกจากนั้น มีพระราชอำนาจอื่นตามที่กำหนดไว้ในประเพณีตามระบอบประชาธิปไตย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ออกกฎหมาย มีจำนวนไม่เกิน 220 คน แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน เนื่องจากกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามต่างๆ เช่นเดียวกับการกำหนดคุณสมบัติของคณะรัฐมนตรี ขณะที่ชี้แจงเรื่องมาตรา 44 คืออำนาจที่เป็นอำนาจเด็ดขาด ชี้แจงว่า ไม่ได้แรงแบบนั้นมีวัตถุประสงค์สร้างความสงบ เป็นปึกแผ่น เพื่อนำบรรยากาศที่ดีเพื่อนำไปสู่การปฎิรูป ขณะที่ สภาปฎิรูปแห่งชาติ เป็นหลักการสำคัญของหัวหน้าสช. ที่จะปฎิรูปในด้านต่างๆ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เชื่อมโยงกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
+++นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคสช.ชี้แจงเพิ่มเตืมและขยายความจากศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร ว่า หลังจากนี้เข้าสู่ช่วงที่ 2 ตามแผนหรือขั้นตอน ซึ่งหัวหน้าคสช. ประกาศไว้หลายวันว่า เข้าสู่ขั้นที่สองของแผนเริ่มต้น หรือโรดแมป หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ตรงกับวันครบรอบสองเดือนที่คสช.เข้ามาบริหารประเทศ เมื่อวันที่ 22 พ.ค. เป็นฉบับที่ 19 ของราชอาณาจักรไทย คาดว่า จะบังคับใช้ ประมาร 1 ปี รอการจัดทำรัฐธรรมนุญฉบับถวาวรในฉบับที่ 20 เสร็จทั้งนี้ เมื่อกฎหมายลูกดำเนินการเสร็จสิ้น จะเข้าสู่ระยะที่สาม คือการจัดการเลือกตั้ง โดยมีควาเมชื่อว่า 1ปีจากนี้ไปจะสามารถจัดการปัญหาต่างๆได้ ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จึงต้องเขียนไว้อย่างรัดกุม เป็นเหมือนกับต้นทางของสายแม่น้ำ อีกห้าสายที่จะหลั่งไหลนับจากนี้เป็นต้นไป
+++สายที่ 1 คือ การเกิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 220 คน อำนาจหน้าที่ออกกฎหมาย รวมถึงเรื่องการกำหนดพระราชกำหนดและอำนาจและให้ความเห็นชอบสนธิสัญญาและหนังสือที่จะไปทำกับต่างประเทศ และอำนาจการแต่งตั้งและถอดถอนนายกฯ การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินหรือการทำหน้าที่ของรัฐบาล เช่นการตั้งกระทู้ สามารถที่จะเปิดอภิปรายแต่ไม่สามารถลงมติได้ นอกจากนี้ ยังให้อำนาจให้ความเห็นชอบบางเรื่องที่มีกฎหมายในการแต่งตั้ง เช่นการแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง เช่น อัยการสูงสุด เลขาธิการปปง. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่งตั้งบุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และจะอยู่จนถึงมีการเลือกตั้งและส.ส.
+++สายที่ 2 คือ คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกฯ และครม.อื่นไม่เกิน 35 คนรวม 36 คนตามตัวเลขเดิม คณะรัฐมนตรีจะแต่งตั้งจากบุคคลไดก็ได้ เช่น ข้าราชกาประจำ จากรัฐวิสาหกิจ บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เนื่องจากมีระยะเวลาทำหน้าที่ประมาณ1 ปีจึงไม่อยากปิดกั้น มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และให้ครม.มีอำนาจหน้าที่ปฎิรูปในด้านต่างๆ และอำนาจสร้างความสามัคคี ปรองดองและความสมานฉันท์ เป็นพันธกิจที่ครม.จะต้องปฎิบัติและจะทำหน้าที่จนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่มา
+++สาย 3 สภาปฎิรูปแห่งชาติ ไม่เกิน 250 มาจาการสรรหา จากจังหวัดต่างๆ จังหวัดละ 1 คน รวมกทม.รวม77 จังหวัด 77 คน และหาคนที่มีความเหมาะสม และจากตัวแทนกลุ่มอาชีพ 11 ด้าน ซึ่งบุคคลดังกล่าว ต้องมีองค์กรรับรองในการเสนอชื่อ ประมาณ550 คน ให้คสช.คัดเลือกเหลือ 173 คนและรวมกับ 77 คน เหลือ 250 คน ทำหน้าที่เสนอแนะแนวทางการปฎิรูปประเทศด้านต่างๆ จะอยู่ต่อไปจนกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะบังคับใช้
+++สายที่ 4 คือ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนุญ มีจำนวน 36 คน เป็นบุคคลไม่เคยดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง 3 ปี เนื่องจาก ต้องการเอาคนปลอดจากการเมือง ห้ามคนดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และคนที่มาทำหน้าที่นี้แล้วจะไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดได้อีกหลังจากนี้อีก 2 ปี คณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่ภายใต้ กรอบ 4 ด้าน คือตามกรอบของสภาปฎิรูปแห่งชาติ เน้นการปกครองที่มีรัฐเดียว มีพระมหากษัตริย์เป็นประมูข กำหนดหลักเกณฑ์ไม่ให้มีการนำงบประมาณแผ่นดินมุ่งหาเสียงโดยทุจริตหรือไม่ชอบ ทบทวนเรื่ององค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญบางองค์กร
+++สายที่ 5 การทำหน้าที่ขงอคสช. รัฐธรรมนูญกำหนดอยู่ต่อไป สามารถเพิ่มได้ไม่เกิน 15 คน อำนาจหน้าที่คสช. เสนอแนะครม.เสนอและปฎิบัติในเรื่องใด แต่ครม.ไม่ทำก็ได้ เชิญครม. ประชุมหารือปัญหาสำคัญต่อประเทศ ครม.อาจเชิญสนช. ได้เช่นกัน ไม่มีอำนาจปลดรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นพี่เลี้ยงให้กับครม. ไม่มีอำนาจบังคับบัญชา ครม. หรือข้าราชการ เพียงแต่ให้คสช. มีอยู่เพื่อแบ่งเบาภาระ ให้ครม. มีการทำหน้าที่ที่บริหารประเทศ 1 ปี อย่างสะดวกและสร้างความสมานฉันท์ปรองดองสามัคคี อย่างไรก็ตาม สามารถใช้อำนาจในทางสร้างสรรค์ ทำใหนสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในยามที่ไม่อาจใช้กระบวนการปกติ ได้