ดีแทค นำเทคโนโลยี ดิจิตอล มาช่วยเหลือภาคการผลิตของเกษตรกร ในชื่อดีแทคฟาร์มแม่นยำ

24 มีนาคม 2560, 13:55น.


การพัฒนาเกษตรกร ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตรและ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  (เนคเทค)-สวทช. ร่วมมือกันพัฒนา ดีแทคฟาร์มแม่นยำ ฟาร์มต้นแบบในการพัฒนาเกษตรกรสมัยใหม่ ปรับใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย สู่ยุคเกษตรกรรม 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) (ดีแทค) เปิดเผยว่า ดีแทค ต้องการนำเทคโนโลยีมาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทางดิจิตอลของเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเข้าสู่ช่วงเวลายุคไทยแลนด์ 4.0 โดยเฉพาะการช่วยเกษตรกร ควบคุมบริหารจัดการเพื่อให้ได้คุณภาพผลผลิตตามความต้องการ โดยแต่งรูปแบบ ดีแทคฟาร์มแม่นยำ โดยนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งหรือ (internet of things : LoT) มาใช้โดยเป็นการทดลองนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ช่วยเหลือเกษตรกรในภาคการผลิต ซึ่ง LOT เป็นอุปกรณ์ ที่ช่วยดูในเรื่องสภาวะแวดล้อมเพื่อช่วยในการเพาะปลูก เช่นปริมาณน้ำในดิน อุณหภูมิ แสง ความชื้นในอากาศ ได้อย่างมีความแม่นยำ โดยอุปกรณ์จะมีเซ็นเซอร์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลไปยังซิมดีแทค ซึ่งเกษตรกรผู้ใช้งาน สามารถเข้าอินเตอร์เน็ตและสามารถเช็คสภาพการเพาะปลูกภายในฟาร์มได้ตลอดเวลาแม้ไม่อยู่ในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรสามรถนำไปควบคุมสิ่งแวดล้อมในโรงเรือนตามความเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณผลผลิตได้มากขึ้น  ขณะนี้ เริ่มทดลองใช้เทคโนโลยี  LoT แล้ว 2 ฟาร์มได้แก่ ฟาร์มเมล่อนและฟาร์มมะเขือเทศ





นอกจากนี้  ยังคงมองหา smart farmer อีก 30 ฟาร์ม โดยเก็บข้อมูลและขยายผลการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนา  ซึ่งการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ ในต่างประเทศถือว่าราคาค่อนข้างสูง  แต่ทั้งนี้  ทาง dtac  และ   nectec  จะพัฒนาและปรับทำให้ทำราคาถูกลงและสามารถใช้ในเกษตรกรในวงกว้างต่อไป  และพัฒนาให้เกษตรกรสามารถนำสินค้าขายทางออนไลน์ได้อย่างกว้างขวางโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ขณะเดียวกัน ก็จะมีโครงการพัฒนาเกี่ยวกับภาคการเกษตรอื่น ๆ ด้วย





ด้านนายปิยะ กิจประสงค์ เจ้าของฟาร์มมะเขือเทศเชอรี่แตะขอบฟ้า หนึ่งในผู้เข้าร่วม ดีเเทคฟาร์มแม่นยำ เปิดเผยว่า ได้ทดลองติด อุปกรณ์ LoT มาแล้ว 1 รอบการผลิต โดยเริ่มต้นติดในช่วงเดือนกันยายน ทำให้สามารถทราบว่าช่วงนี้ ความชื้นเท่าใด อุณหภูมิเท่าใด ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์กับเกษตรกรสมัยใหม่มากเนื่องจากสามารถทำงานนอกบ้านได้ และสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น เนื่องจากมีอุปกรณ์เซ็นเซอร์สามารถตรวจสอบสภาพอากาศอุณหภูมิดิน ว่าช่วงเวลาใดมีความชื้นหรือความร้อนมากเกินไป ทำให้สามารถดูแลพืชผลได้อย่างเหมาะสมตามสภาพความเป็นจริง





ทั้งนี้มองว่าเกษตรกรต้องปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เนื่องจาก สภาพสังคมเศรษฐกิจ และภาคการเกษตรเองก็จะต้องปรับตัว สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งให้ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไป  เช่นเดียวกับนายณัฐ มั่นคง เจ้าของฟาร์มโคโค่เลมอน ที่ได้ทดลองใช้เทคโนโลยีดังกล่าว โดยยอมรับว่ามีประโยชน์มากเพราะแต่ก่อนหากต้องการเช็คสภาพความชื้นในดินจะนำมือลงไปซุกในดินเพื่อวัดสภาพความชื้น ซึ่งยังถือว่าไม่มีความแม่นยำเพียงพอจึงเห็นด้วยที่เกษตรกรจะต้องปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งในอนาคตก็จะมีการขยายกลุ่มการเกษตร เพิ่มตลาดการขนส่ง โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคการผลิตเพื่อให้สามารถมีสินค้า ส่งตามความต้องการได้อย่างต่อเนื่อง





 



ผู้สื่อข่าว:ปิยะธิดา เพชรดี



 



 



 

ข่าวทั้งหมด

X