ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง "การปรองดองและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน" โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 1,250 หน่วยตัวอย่าง
ในส่วนของพรรคการเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 10.08 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือดีมาก ร้อยละ 44.16 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 1.04 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 31.76 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 8.64 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 4.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
นักวิชาการ (อาจารย์ สถาบันการศึกษา นักวิชาการอิสระ) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 16.00 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือดีมาก ร้อยละ 52.16 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 1.92 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 19.20 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 4.00 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 6.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ภาคธุรกิจ/ภาคเอกชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 17.36 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือดีมาก ร้อยละ 48.72 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 2.32 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 20.48 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 5.04 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 6.08 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ภาคประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 24.08 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือดีมาก ร้อยละ 45.76 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 1.84 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 20.72 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 4.16 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 3.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ในส่วนของรัฐบาล/คสช.พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.6 ระบุว่า ได้รับความร่วมมือดีมาก ร้อยละ 40.24 ระบุว่า ค่อนข้างดี ร้อยละ 1.04 ระบุว่า ปานกลาง ร้อยละ 10.48 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 2.96 ระบุว่า ไม่ได้รับความร่วมมือเลย และร้อยละ 5.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ความคิดเห็นของประชาชนต่อสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องทำเพื่อให้การประชุมหรือหารือข้อเสนอแนะแนวทางการปรองดอง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.92 ระบุว่า ทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน มีความจริงใจที่จะเร่งแก้ไขปัญหา และปฏิรูปประเทศ รองลงมา ร้อยละ 45.20 ระบุว่า ต้องเน้นการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับชุมชน ร้อยละ 37.76 ระบุว่า ควรลดการใช้อคติ อารมณ์ และทิฐิของตนเอง ร้อยละ 36.88 ระบุว่า ควรหารืออย่างสร้างสรรค์ โดยใช้เหตุและผล หรือมีข้อมูลทางวิชาการมารองรับ และควรประชาสัมพันธ์การแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.80 ระบุอื่นๆ ได้แก่ ควรคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน, เน้นการใช้กฎระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายที่เข้มงวด, และยึดหลักตามแนวทางโรดแมป ของ คสช.ที่ได้วางไว้ ร้อยละ 0.72 ระบุว่า น่าจะเป็นไปได้ยาก และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
และเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อระยะเวลาอย่างน้อยที่ประเทศไทยจะต้องใช้ เพื่อให้เกิดความปรองดองได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 10.40 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ร้อยละ 17.52 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี ร้อยละ 13.12 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี ร้อยละ 5.12 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 4 ปี ร้อยละ 21.84 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ร้อยละ 12.96 ระบุว่า ต้องใช้ระยะเวลามากกว่า 5 ปีขึ้นไป ร้อยละ 4.48 ระบุว่า ประเทศไทยไม่น่าจะสามารถปรองดองกันได้ และร้อยละ 14.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ประเทศไทยมีความปรองดองแล้ว
..