สถานการณ์ยาเสพติดในภูมิภาคอาเซียน นางนฤมล ช่วงรังษี รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ยอมรับว่า ขณะนี้ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ยังประสบปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะการผลิต ในประเทศพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งมีปริมาณการผลิตค่อนข้างสูง ทั้ง ฝิ่น เฮโลอีน ยาบ้า และ ไอซ์ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อประเทศหลักในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำแล้ว ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งประเทศจีน ก็ได้รับผลกระทบด้วย จึงพยายามร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการส่งออกยาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โดยสกัดกั้นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดประเภทต่างๆ ทำให้เกิดการตั้งศูนย์ปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย ที่ได้รับแนวคิดมาจากประเทศจีน ที่แม้จะไม่ได้อยู่ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ แต่ก็ได้รับผล ในการนำยาเสพติดผ่านประเทศจึงต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา สำหรับศูนย์ปฏิบัติการแม่น้ำโขง ทำหน้าที่เป็นกลไก ประสานงานต่างๆ เมื่อมีข้อมูลข่าวสารเชิงปฏิบัติการ พร้อมทั้งสืบสวนจับกุม โดยพบว่าการดำเนินการของศูนย์นี้ ในปี 2559 นั้น ค่อนข้างได้ผลดี สามารถปราบปรามได้เป็นจำนวนมาก
โดยขณะนี้ สถานการณ์ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ถือว่ามีความรุนแรงอยู่ ทั้งเรื่องการผลิต การลักลอบ ลำเลียง ส่งออกนำเข้าเคมีภัณฑ์ โดยใช้ศูนย์ดังกล่าวเป็นตัวช่วย ส่วนผลที่ได้รับ ค่อนข้างจะดีขึ้น โดยสามารถสกัดกั้นยาบ้า ได้กว่าร้อยล้านเม็ดในปี 2559 ส่วนสถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทย นางนฤมล กล่าวว่า ค่อนข้างดีขึ้น การจับกุมผู้กระทำปิดน้อยลง ผู้บำบัดก็ลดลง ขณะเดียวกันยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กระบวนการค้ายาเสพติดนั้น ย่อมไม่ได้ส่งผลแต่ในประเทศอาเซียนเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกด้วย
ผสข.เกตุกนก ครองคุ้ม