นายกฯยังไม่ตัดสินใจ ใช้ ม.44 ลดโทษคนรับสารภาพติดสินบน เหลือแค่ปรับ

06 กุมภาพันธ์ 2560, 12:15น.


การเสนอใช้มาตร44 กรณีติดสินบน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช.) เปิดเผยว่า กรณี กระทรวงการคลังเสนอให้ใช้ ม.44  แก้กฎหมายเพื่อให้มีการเปิดโอกาสผู้ให้สินบน เมื่อรับสารภาพแล้วจะมีโทษแค่ปรับอย่างเดียว นายกรัฐมนตรีระบุว่า เรื่องการทุจริต ให้กระทรวงการคลังไปคิดมา ซึ่งที่พูดมาเป็นวิธีการของต่างประเทศ ซึ่งได้สั่งการให้ไปศึกษา โดยต้องมีการหารือก่อนว่าจะว่าเหมาะสมนำมาใช้หรือไม่ เพราะทุกอย่างต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับ โดยไม่ใช่การละเว้นโทษให้ใคร  เช่นเดียวกันกฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและเสรีภาพสื่อมวลชน ที่ต้องไปศึกษากฎหมายเช่นเดียวกันโดยเฉพาะประเทศที่เป็นประชาธิปไตยว่ามีการดำเนินการอย่างไร ประเด็นสำคัญคือสื่อจะต้องควบคุมกันเองให้ได้ หากมีการทำอะไรที่บิดเบือน ทำให้บ้านเมืองสับสน หากไม่ให้ข้าราชการเข้าไปในคณะกรรมการ ต้องกลับไปคิดว่าองค์กรสื่อจะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร หากทำได้ก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว



โดยขณะนี้ รายงานสถานการณ์การเงินการคลังที่ ขณะคลังมีเงินเหลือ 7.49 หมื่นล้านบาท นายกรัฐมนตรีว่า  ให้ฟังกระทรวงการคลังชี้แจง ขออย่าตกใจ การให้ดูว่ามีการลงทุนถูกต้อง เกิดประโยชน์ และมีการทุจริตหรือไม่ รวมไปถึง ขัดระเบียบ หนี้สาธารณะเกินหรือไม่ ซึ่งก่อนการอนุมัติต้องผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว ซึ่งรัฐบาลต้องมีการนำเงินไปพัฒนา ลงทุน ช่วยเหลือเกษตรกร พร้อมขออย่านำเรื่องนี้ไปขยายความหรือเป็นกระบอกเสียงให้ใคร ซึ่งหากรัฐบาลปฏิรูปแต่ทุกคนไม่ปฏิรูปก็จะเป็นแบบเดิม



สำหรับในวันนี้ มีการสรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี 2559 และแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2560 ของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณ กอ.รมน. ที่ได้ปฏิงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย พร้อมสั่งการให้นำวาระงาน ทั้ง 37 วาระงาน ให้แก้ไขปัญหารวมไปถึงอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้ารวมไปถึงให้ กอ.รมน. มีบทบาทในเรื่องการดูแลการทุจริตในพื้นที่โดยร่วมมือกับหน่วยราชการ   ซึ่งเป็นการบูรณาการสอดประสานร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและอื่นๆ โดยเฉพาะหน้าที่ของกอ.รมน. ที่มีหน้าหลักในการดูแลรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินภายในประเทศ เริ่มจากชายแดนมายังส่วนกลาง โดยใน 5 ศูนย์ปฏิบัติการ จะทำการประสานงานบูรณาการให้มีความสอดคล้องกันแต่ไม่ใช่การไปสั่งแต่ละหน่วยงาน เช่นการปราบปรามยาเสพติดที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ดำเนินการโดย กอ.รมน.เป็นผู้สานงานกับเจ้าหน้าที่ทหารเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกัน 

ข่าวทั้งหมด

X