กรมชลประทาน จัดสรรน้ำให้พอถึงหน้าแล้ง หาแหล่งน้ำเติมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

02 กุมภาพันธ์ 2560, 19:47น.


โครงการศึกษาทบทวนการเติมน้ำเขื่อนภูมิพล เพื่อสร้างความมั่นคงน้ำในภาคการผลิตตามแผนยุทธศาสตร์น้ำของชาติ และแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากการลงพื้นที่บริเวณเขื่อนภูมิพล จ.ตาก โดยนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล ว่าขณะนี้มีปริมาณน้ำครึ่งอ่าง สามารถนำมาใช้ได้ประมาณร้อยละ 22 โดยแม้ว่าปีนี้น้ำจะดีกว่าปีที่แล้วแต่ไม่ได้หมายความว่าอยู่ในปริมาณค่าเฉลี่ยที่ 5,700 ล้านลบ.ม. แต่ขณะนี้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนอยู่เพียง 3,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งถือว่าปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างน้อยมาก ดังนั้นจึงต้องลดการใช้น้ำลง โดยมีการจัดสรรน้ำโดยกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ ผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งถือว่าประหยัด แต่จะต้องพยายามจัดสรรให้ได้จนกระทั่งสิ้นสุดฤดูแล้ง จะต้องพยายามทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ ไม่ใช้น้ำอย่างไม่ประหยัด มิเช่นนั้นในระยะยาวจะมีผลกระทบ ทั้งนี้เขื่อนภูมิพลมีหน้าที่ในการเติมน้ำและจ่ายน้ำให้กับพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยาเพราะพื้นที่ดังกล่าวมีความต้องการใช้น้ำทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรม อุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศและด้านอื่นๆ โดยเขื่อนภูมิพล สามารถเติมน้ำเข้าไปได้อีกไม่น้อยกว่า 2,000 ล้าน ลบ.ม.โดยปัจจุบันความต้องการในการใช้น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 15,000 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี และใน 20 ปีข้างหน้าจะมีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นประมานอีก 27,000 ล้านลบ.ม. ต่อปี หากปรับลดการใช้น้ำ ปรับระบบปลูกพืช การปลูกพืชใช้น้ำน้อย แต่คงปรับได้ไม่เกิน 1,000 ล้านลบ.ม.





ดังนั้นกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงพยายามหาแนวทางในการเติมน้ำ โดยขณะนี้มองไปที่ลุ่มน้ำสาละวิน ที่มีปริมาณน้ำไหลถึง 280,000 ล้าน ลบ.ม ต่อปี ซึ่งรับน้ำที่ไหลเข้าไทยประมาน 9,000 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้นหากนำน้ำจากลุ่มน้ำสาละวิน ประมาน 1,800 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี ผลกระทบจะไม่มากแต่จะทำประโยชน์ให้ทั้งภาคเกษตรและอื่นๆ โดยขณะนี้มีการศึกษาไว้โดยเส้นทางเลือกที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดคือแม่น้ำยวม อ.สบเมย แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะต้องมีการก่อสร้างและลำเลียงน้ำด้วยระบบท่อ ประมาณ 60 กิโลเมตร  และอีกเส้นทางคือ แม่น้ำเมย ที่จังหวัดตากซึ่งมีปริมาณน้ำอยู่ที่ 1,600 ล้านลบ.ม.ต่อปี โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนศึกษาเพื่อดูว่าจะกระทบอะไรบ้าง พร้อมถึงความเหมาะสมในแง่การลงทุนและเตรียมเสนอรัฐบาลต่อไป โครงการนี้ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ให้ศึกษาอย่างจริงจัง ช่วยกำหนดเป้าหมายในการศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงของผู้ใช้น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่ว่าจะเป็นอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรมและการรักษาระบบนิเวศ





ส่วนสถานการณ์น้ำโดยรวมแม้น้ำทางเขื่อนจะมีเพียงพอ แต่การวางแผนจะต้องวางแผนไปจนถึงปีหน้า โดยทำการเก็บน้ำไว้ 1 หมื่นกว่าล้านลบ.ม. ในภาพรวมของทั้งประเทศ เพื่อที่จะให้ภาคการเกษตรทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว ซึ่งข้าวนาปีในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีกว่า 10 ล้านไร่ขึ้นไป กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ไปทำความเข้าใจ ซึ่งอยู่ในแผน ประมาณ 2 ล้านไร่ แต่ขณะนี้มีการปลูกข้าวถึง 4 ล้านไร่ ซึ่งหากทำการเกษตรเกินตามแผนก็จะเกิดผลกระทบโดยรวมทั้งหมด



ผู้สื่อข่าว:ปิยะธิดา เพชรดี



 

ข่าวทั้งหมด

X