โครงการศึกษาทบทวน การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนภูมิพล เพื่อช่วยแก้ปัญหาแก้ไขการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ในวันนี้ กรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่บริเวณแม่น้ำยวม อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมชลประทาน กรมชลประทาน ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการศึกษา โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีการต้องความใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฉันจำเป็นต้องพัฒนาแหล่งน้ำใหม่และปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำเดิมให้มีปริมาณน้ำต้นทุนสมดุลกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยแนวทางการผันน้ำลุ่มน้ำสาละวินและลุ่มน้ำสาขาได้มีการศึกษาไว้ 2 แนวทางคือแนวทางแรกเป็นการผันน้ำจากแม่น้ำเมยสาขาของลุ่มน้ำสาละวิน มาเติมในเขื่อนภูมิพล ซึ่งระยะทางไม่ไกลมากแต่เนื่องจากแม่น้ำเลย เป็นแม่น้ำที่กั้นชายแดนประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์ จึงจำเป็นต้องมีการประสานและทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างสองประเทศจึงอาจทำให้มีความล่าช้าในการพัฒนาโครงการ ส่วนแนวทางที่ 2 มีความเป็นไปได้มากกว่า คือการผันน้ำจากแม่น้ำยวมซึ่งเป็นสาขาของลุ่มน้ำสาละวินเช่นเดียวกัน และมีอุโมงค์ส่งน้ำยาว กว่าแนวทางที่ 1 แต่มีจุดเด่นที่เป็นการนำน้ำ ที่มาจากแม่น้ำที่ไหลในพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด
เบื้องต้นได้พิจารณาเห็นแล้วว่าแนวทางที่ 2 ที่จะผันน้ำจากแม่น้ำยวมมาเติมในเขื่อนภูมิพลมีความเป็นไปได้มากกว่าแนวทางที่ 1 และจะใช้เงินลงทุนสูงก็ตามแต่ผลตอบแทนที่ได้จะมีความคุ้มค่ารวมไปถึงในอนาคตสามารถผันน้ำมาเพิ่ม จากแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำเมยซึ่งการผันน้ำจากแม่น้ำยวม จะสามารถสร้างความมั่นคง ทั้งในเรื่องน้ำการอุปโภคบริโภคการเกษตรอุตสาหกรรมและด้านอื่นๆให้กับลูกน้ำเจ้าพระยาในระยะยาวรวมไปถึงยังได้พลังงานไฟฟ้าที่สะอาดปราศจากมลพิษเพิ่มขึ้น สามารถทดแทนการนำเข้าน้ำมันที่มีราคาแพงมาผลิตไฟฟ้าอีกด้วย ดังนั้นกรมชลประทานจึงได้เตรียมที่จะทำการศึกษาความเหมาะสมผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อผลักดันให้เป็นความจริง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี โดยการศึกษาทบทวนโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลในครั้งนี้ จะครอบคลุมในทุกๆด้านทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมสังคม รวมไปถึง จะทำการวิเคราะห์สาเหตุปัญหาการใช้น้ำ การขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และแนวโน้มในอนาคต 20 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงานทุกขั้นตอน โดยการกำหนดให้ทำการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2561