การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ นายฮิโรกิ มิทสึมาตะ ประธานคณะวิจัยเศรษฐกิจหอการค้าญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย มองว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ มีความเห็นถึงการมองอนาคตธุรกิจยานยนต์อย่างระมัดระวังขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงติดลบ โดยในช่วงปลายปี 2559 อุตสาหกรรมการผลิตที่มีค่าติดลบสูงที่สุด ได้แก่ เครื่องจักรที่ใช้ในการขนส่ง เช่น ธุรกิจยานยนต์ และ ชิ้นส่วนในยานยนต์ สาเหตุจากก่อนหน้านี้ที่มีนโยบายรถคันแรก ทำให้มีผู้สนใจ ซื้อรถเป็นจำนวนมาก เกิดความต้องการการใช้รถยนต์ที่เกินเป้า และมีการนำรถยนต์ในอนาคตของปีต่อๆไปมาใช้ ทำให้เมื่อถึงช่วงปีหลังๆ อุตสาหกรรมยานยนต์จึงเริ่มซบเซา
ส่วนอุตสาหกรรมประเภทอาหาร ยังคงเป็นอุตสาหกรรม ที่มีแนวโน้ม การปรับตัวสูงขึ้น มาตั้งแต่ครึ่งปีแรกของ พ.ศ.2559 จนถึงการประมาณการในช่วงครึ่งปีแรก พ.ศ. 2560 ด้านการลงทุนเพิ่มในโรงงานและเครื่องจักรครึ่งปีแรก ของ พ.ศ.2560 พบว่า ยังคงมีการลงทุนคงที่ร้อยละ 34 ซึ่งหากมีการลงทุนเพิ่มอุตสาหกรรมทางเคมี จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนเพิ่มสูงสุด เช่นเดียวกับแนวโน้มการส่งออก ที่แม้จากการสำรวจจะมีการส่งออกคงที่ ถึงร้อยละ 49 แต่หากมีการส่งออกอุตสาหกรรมประเภทเคมี ก็มีตัวเลขการจะส่งออกสูงสุด โดยสภาพธุรกิจในครึ่งปีแรกของปีก่อน(พ.ศ.2559) มีทิศทางการปรับตัวที่ดีขึ้น โดยดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจ ค่า DI (Diffusion Index) มีค่า +9 ส่วนในครึ่งปีหลังของพ.ศ.2559 มีแนวโน้มชะลอตัว ลดลงเหลือ ค่า DI ที่ +4 ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆที่มีค่าติดลบสูงสุด ได้แก่อุตสาหกรรมการค้าปลีก เนื่องจากช่วงปลายปี 2559 มีเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนทั้งประเทศ อยู่ในสภาวะเศร้าโศกเสียใจ ส่งผลต่ออุตสาหกรรมค้าปลีก รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน