ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง นายสถานีรถไฟกรุงเทพ เปิดเผยว่า การดูแลความปลอดภัยบนรถไฟ โดยปกติจะมีพนักงานตรวจการผู้โดยสาร หรือ พนักงานห้ามล้อประจำอยู่ในแต่ละขบวน 3-5 คน ขึ้นอยู่กับความยาวของขบวนรถ ส่วนรถด่วนจะมีพนักงานรักษารถเพิ่มขึ้นมาอีก 2 นายต่อขบวน ส่วนของรถนอนจะมีพนักงงานปูเตียง 1 นายต่อ 1 ตู้ ซึ่งทั้งหมดจะคอยดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร หากเกิดกรณี ทะเลาะวิวาท หรือ เหตุการณ์ที่พนักงานการรถไฟไม่สามารถควรคุมเหตุการณ์ได้ จะแจ้งให้สถานีถัดไปทราบเพื่อประสานกับตำรวจท้องที่เข้าระงับเหตุ และหลังเกิดหตุการณ์คดีน้องแกัม ทางรถไฟได้เน้นย้ำการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอย่างเคร่งครัด
ล่าสุดมีการนำสติกเกอร์ห้ามขายและห้ามดื่มแอลกกอฮอล์ลมาติดตามขบวนรถไฟ เพื่อรณรงค์ทั้งคนขายสินค้าและผู้โดยสาร ส่วนตามชานชาลา ที่หัวลำโพงพบว่าประสบปัญหาไม่สามารถติดป้ายประชาสัมพันธ์ได้เนื่องจากเป็นอาคารอนุรักษ์ จึงทำให้ติดป้ายประชาสัมพันธ์ได้เพียงบนรถไฟ
นายพงษ์ชนะ รอดดารา พนักงานเก็บกวาดบนรถไฟ เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุคดีดังกล่าวขึ้น รู้สึกได้ว่าผู้โดยสารกลัวพนักงานมากขึ้น บางส่วนไม่กล้ามองหน้าพนักงาน ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความลำบาก แต่จะต้องทำหน้าที่ของตัวเองในการดูแล สอดส่องมิจฉาชีพไม่ให้ก่อเหตุบนรถไฟ
ขณะที่นางสาวรจนา ปรังแดง ผู้โดยสารซึ่งพาลูกชายและลูกสาวมาโดยสารรถไฟในเข้าวันนี้ เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุคดีดังกล่าวรู้สึกกลัว แต่จำเป็นที่จะต้องใช้รถไฟในการโดยสาร พร้อมทั้งจะดูแลบุตรไม่ให้คาดสายตา และหากสามารถเลือกการเดินทางโดยวิธีอื่นได้ก็จะเลี่ยงไม่ใช้บริการการรถไฟ ส่วนผู้โดยสารคนอื่นๆโดยเฉพาะผู้โดยสารผู้หญิง ก็เปิดเผยว่า จะเลือกใช้บริการการรถไฟ เพียงการเดินทางสายสั้น และในช่วงกลางวันเท่านั้น หากเป็นสายยาวหรือ เดินทางกลางคืนก็จะหันไปใช้บริการรถสาธารณะอย่างอื่นแทน