หลังจากประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะนักโซเชี่ยลแสดงความเห็นสนับสนุนให้แก้กฎหมายคดีฆ่าข่มขืนอย่างจริงจัง โดยแสดงสัญลักษณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า ข่มขืน = ประหารชีวิต พร้อมทั้งเชิญชวนให้ชาวเน็ตทั่วประเทศใช้แฮชแท็กนี้เพื่อรณรงค์ให้รัฐออกมาตราการการแก้ไขปัญหานี้โดยด่วนนั้น
นายวิทยา สุริยะวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงบทลงโทษของผู้ต้องหาในคดีข่มขืนว่า ปัจจุบันคดีลักษณะดังกล่าวมีอัตราโทษสูงถึงประหารชีวิต โดยเฉพาะคดีข่มขืนและฆ่า ซึ่งการพิจารณาคดีขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล แต่ประเทศไทยนั้นไม่มีการลงโทษด้วยการประหารชีวิตมานานแล้ว
ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์รับผิดชอบดูแลผู้ต้องขังกว่า 300,000 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ต้องขังคดีทางเพศประมาณหนึ่งหมื่นคน ยอมรับว่า อาจไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง สิ่งที่ทำได้คือการควบคุมตัวไว้ในพื้นที่จำกัด และต้องอาศัยระยะเวลาในการคุมขังที่ต้องยาวนานจนชราหรือหมดสภาพ ออกไปแล้วไม่สามารถไปก่อเหตุได้อีก ผู้ต้องขังคดีทางเพศที่ทำกับเด็กเมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำมักเป็นที่รังเกียจของเพื่อนผู้ต้องขัง ซึ่งในการคุมขังจะพยายามดูแลในขั้นต้นให้เกิดความปลอดภัยจากการถูกผู้ต้องขังอื่นทำร้าย
สำหรับ ผู้ต้องขังคดีกระทำผิดทางเพศ โดยเฉพาะกับเด็ก มักเป็นกลุ่มที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ ไม่สามารถบังคับ ควบคุมความต้องการของตัวเองได้เหมือนคนทั่วไป หลายคนพบว่า ในวัยเด็กได้รับการสั่งสอนเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องจำเป็นต้องได้รับการบำบัดและเยียวยาทางจิตใจแต่ก็เป็นเรื่องยาก เพราะต้องใช้นักจิตวิทยาวิเคราะห์
cr:FB