หลังการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2559 ที่ทำเนียบรัฐบาล
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติด้านการประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้เร่งรัดการดำเนินคดีทุจริตที่สร้างความเสียหายให้ประเทศอย่างร้ายแรงให้หลายๆ คดี เช่นคดีบ้านเอื้ออาทร ขณะเดียวได้สั่งการให้มีการรวบรวมรายชื่อนักธุรกิจที่มีพฤตกรรมไปในทางทุจริต โดยอ้างอิงจากรายงานการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐซึ่งได้มีการบันทึกข้อมูลทุกอย่างไว้ มาขึ้นบัญชีดำเพื่อไม่ให้มีการทำธุรกิจหรือประมูลกับภาครัฐอีก
ส่วนเรื่องดัชนีชี้วัดความโปร่งในประเทศไทยที่ในปี 2558 ได้รับการประเมินเพียงร้อยละ 37 จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการโดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อให้คำแนะนำและข้อปรับปรุง สำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่จะต้องรับการประเมิน พร้อมติดตามการดำเนินงานเพื่อเพิ่มระดับความโปร่งใสให้ดีขึ้น
ขณะเดียวกันจะมีการกำหนดหน่วยงานบางหน่วยงานเป็นหน่วยงานนำร่องในการใช้พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มความรวดเร็วการแข่งขัน เช่น องค์การอาหารและยา (อย.) กรมศุลกากร กรมที่ดิน กรมโรงงาน และการขอวีซ่าที่สนามบิน เพื่อสร้างความมั่นใจการท่องเที่ยว การทำธุรกิจและการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามารักษาตัวในประเทศสะดวกมากขึ้น
ด้านนายประยงค์ ปรียาจิตต์ ในฐานะอนุกรรมการปราบปรามการทุจริต เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ส่งหนังสือชมเชยไปยังหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการประเมินการโปร่งใสและมีคุณธรรมดีขึ้นในช่วงปี 58-59 ทั้งยังได้ยังได้มอบให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ประสานกับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักอัยการสูงสุด และศาลคดีอาญาทุจริตเพื่อสร้างฐานข้อมูลดำเนินคดีอาญาร่วมกัน เพื่อลดภาระในการทำงาน และใช้เป็นฐานข้อมูลร่วมกัน
ส่วนการดำเนินงานตามคำสั่งมาตรา 44 ในการตรวจสอบและข้าราชการที่มีพฤติการณ์ส่อว่าทุจริต จากทั้งหมด 9 คำสั่ง มีผู้ถูกตรวจสอบทั้งหมด 353 คน ขณะนี้ต้นสังกัดได้ตรวจสอบมีคำสั่งลงโทษไปแล้ว 81 คน และป.ป.ช.มีคำสั่งชี้มูลความผิดไปแล้ว 17 คน ดังนั้น ขณะนี้จึงมีผู้ต้องพ้นจากตำแหน่งไปแล้วทั้งหมด 98 คน
ส่วนกรณีการติดตามคดีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวอีกร้อยละ 80 ที่เหลืออยู่ ขณะนี้อยู่ในระหว่างรอข้อมูลระดับจังหวัดเพื่อนำมาประมวลผลเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาสั่งการต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเสนอได้เร็วๆนี้ ซึ่งคดีที่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวจำนวน 986 เรื่อง อยู่ในระหว่างไต่สวน 911 เรื่อง และภายในสัปดาห์นี้จะเชิญคณะอนุกรรมการทั้งหมดมาหารือกัน เพื่อหาแนวทางอำนวยความสะดวกและทำให้การไต่สวนรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าไต่สวนแล้วเสร็จใน 6 เดือนเช่นเดิม
ขณะที่นายมานะ นิมิตรมงคล เปิดเผยว่า ภายหลังการบังคับใช้ พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกทางราชการยคงมีบัญหา เนื่องจากหน่วยงานยังคงไม่ได้รับคู่มือการบังคับใช้คู่มือในขณะนี้ มติที่ประชุมจึงได้สั่งการให้หน่วยงานมีการบังคับใช้คู่มือ พร้อมวางแนวทางการให้บริการประชาชน โดยให้นำร่องใน 3 หน่วยงานคือ องค์การอาหารและยา กรมที่ดิน และกรมศุลกากร ขณะเดียวกันกรมบังคับคดีได้เสนอตัวในการเป็นหน่วยงานนำร่องเรื่องความรวดเร็วในการดำเนินการ พร้อมกันนี้นายกมนตรีได้สั่งให้ทุกหน่วยงานได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการดำเนินงานที่ผ่านมาให้รับรู้โดยเฉพาะต่างประเทศ โดยข้อมูลต้องเข้าถึงง่าย เจ้าใจง่ายและใช้ได้จริง โดยจอให้มุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณรายงานการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน บนเว็บไซด์ของหน่วยงานนั้น ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
....
ผสข.ปิยะธิดา เพชรดี