ปรากฏการณ์(Super Moon) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 โดยขณะที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ทำให้ขนาดของดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่กว่าปกติประมาณ 14% และมีความสว่างมากกว่าดวงจันทร์เต็มดวงปกติ ประมาณ 30% ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สำนักงาน กศน. ขอเชิญร่วมกิจกรรมในโครงการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญ 14 พฤศจิกายน 2559 โดยผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ตั้งแต่เวลา 18.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจ เราจึงจัดโครงการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญ 14 พฤศจิกายน 2559 ขึ้น เพื่อให้เยาวชน ประชาชน และผู้สนใจได้ร่วมสังเกตการณ์ และร่วมกิจกรรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งส่วนของการสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่า กล้องสองตา กล้องโทรทรรศน์ ณ บริเวณลานอิฐแดง ด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูน (Super Moon) ด้วยการบรรยายถึงการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ผ่านการแสดงทางท้องฟ้าจำลอง จำนวน 2 รอบ ๆ ละประมาณ 30 นาที (รอบ 19.00 น. และรอบ 19.30 น.) ทั้งนี้ ผู้สนใจเข้ารับฟังการบรรยายในท้องฟ้าจำลอง สามารถติดต่อรับบัตรสำรองการเข้าร่วมฟังการบรรยายครั้งนี้ ที่ด้านหน้าอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2391 0544 และ 0 2392 1773 และ 08 9501 3085
ปรากฏการณ์ ซูเปอร์มูน (Super Moon) ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงของ ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 68 ปี ทำให้เราสังเกตเห็นดวงจันทร์มีขนาดใหญ่ขึ้น 14% และมีความสว่างขึ้น 30% เมื่อเทียบกับดวงจันทร์ขณะอยู่ไกลโลกที่สุดครั้งสุดท้ายที่ดวงจันทร์เคยอยู่ใกล้โลกมากเท่านี้ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2491 ถ้าเราพลาดการสังเกตการณ์ในครั้งนี้ คงต้องรออีก 18ปี ดวงจันทร์จึงจะอยู่ใกล้โลกเท่านี้อีกครั้ง นั่นคือ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2577 การสังเกตปรากฏการณ์ ซูเปอร์มูน (Super Moon) ครั้งนี้ เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งดวงจันทร์จะขึ้นเวลา 17:48 น. และตกเวลา 5:42 น. และสามารถสังเกตปรากฏการณ์นี้ได้ตลอดทั้งคืน