การระบายน้ำในช่วงฤดูฝน พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 21 ต.ค. 59 ว่า ได้ตรวจสอบตามจุดตรวจสอบน้ำต่าง ๆ พบว่า อ.ศรีสัชนาลัย มีการระบายน้ำ 105 ลบ.ม./วินาที ค่ายจิรประวัติ มีปริมาณน้ำไหลผ่านลดลง เหลือจำนวน 2,014 ลบ.ม./วินาที เขื่อนเจ้าพระยา มีการระบายน้ำลดลง เหลือจำนวน 1,916 ลบ.ม./วินาที เขื่อนป่าสัก มีการระบายน้ำลดลง เหลือจำนวน 19 ลบ.ม./วินาที เขื่อนพระรามหก ปิดการระบาย และ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีการระบายน้ำลดลง เฉลี่ย 1,992 ลบ.ม./วินาที
ส่วนการรวจสอบพื้นที่ต่ำนอกคันกั้นน้ำ จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่า มีระดับน้ำลดลงจากวันที่ 13 ต.ค. ได้แก่ ต.บ้านป้อม ลดลง 0.39 ม. (จากล้นตลิ่ง 0.30 ม. ลงมาต่ำกว่าตลิ่ง 0.09 ม.) ต.บ้านบางหลวงโดด ลดลง 0.33 ม. (จากล้นตลิ่ง 1.79 ม. ลงมาล้นตลิ่ง 1.46 ม.) ต.บ้านบางบาล ลดลง 0.29 ม. (จากล้นตลิ่ง 1.07 ม. ลงมาล้นตลิ่ง 0.78 ม.) และ ต.ท่าเรือ ลดลง 3.13 ม. (จากต่ำกว่าตลิ่ง 1.79 ม. ลงมาต่ำกว่าตลิ่ง 4.92 ม.) รมว.เกษตรฯ ได้ขอให้ทุกหน่วยงานช่วยดูแลพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ นอกคันกั้นน้ำ ซึ่งยังคงมีน้ำเอ่อเข้าท่วม สำหรับการลดการระบายน้ำจะช่วยคลายความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชนให้ผ่านวิกฤติไปได้ และขณะนี้ฝนเริ่มลดลงจึงอยากให้เริ่มเก็บน้ำให้มากที่สุด เพื่อใช้สำหรับการเพาะปลูกในฤดูแล้งหน้าด้วย
สำหรับเขื่อนทดน้ำต่าง ๆ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนพระรามหก จะยกระดับน้ำเหนือเขื่อนขึ้น ดันน้ำเข้าแม่น้ำลำคลอง แก้มลิง และระบบชลประทาน โดยการเก็บน้ำในเขื่อนจะช่วยลดการระบายน้ำลง เช่น เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนแควน้อย เป็นต้น คาดว่าจะมีน้ำเต็มเขื่อนประมาณปลายเดือนตุลาคมนี้
ส่วนการผันน้ำเข้าทุ่ง ซึ่งพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ได้เก็บเกี่ยวแล้ว ยกเว้นทุ่งเจ้าเจ็ดที่จะเก็บเกี่ยวเสร็จภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ จะขอให้พื้นที่มีการทำประชาคม และทำหนังสือถึงกรมชลประทานเพื่อปล่อยน้ำเข้าทุ่ง โดยต้องขอทำความเข้าใจว่า การปล่อยน้ำเข้าทุ่งระดับน้ำจะไม่ได้ลดทันที อีกทั้งกรมชลประทานจะปล่อยน้ำผ่านระบบคูคลอง ไม่ได้เปิดประตู หรือเจาะคันปล่อยตรง นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำเข้าเขื่อน โดยเน้นใน 3 พื้นที่ คือ จ.นครราชสีมา จ.ประจวบคิรีขันธ์/เพชรบุรี และเกาะสมุย/เกาะพะงัน ด้วย
CR:ข่าวทำเนียบรัฐบาล