รองปลัดยธ.ชี้แจงหลักเกณฑ์พักโทษของนักโทษอายุเกิน70ปี ต้องเหลือโทษไม่เกิน 5ปี หรือ จำคุกมาแล้ว 1 ใน 3ของโทษ

10 กันยายน 2559, 13:23น.


สาระสำคัญและหลักเกณฑ์การพระราชทานอภัยโทษในโอกาสสำคัญหรือพักการลงโทษกรณีอ้างเหตุรับประโยชน์เกี่ยวกับอายุและภาวะการเจ็บป่วยของผู้ต้องขัง  นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม โพสต์ชี้แจงในเฟซบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า  สาระสำคัญและตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอายุของผู้ต้องขังนั้น ต้องเป็นนักโทษเด็ดขาดอายุ 70 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรืออายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 70 ปี ที่เหลือกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี ของโทษตามกําหนดโทษ เช่น พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2559 บัญญัติว่า "ต้องได้รับโทษจําคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าห้าปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของโทษตามกําหนดโทษ และ "ต้องมีโทษจําคุกตามกําหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกิน ๓ ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ" เป็นต้น และยังต้องดูว่าการกระทำความผิดที่ต้องรับโทษนั้นเป็นฐานความผิดต้องห้ามไม่ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษด้วยหรือไม่อีกด้วย



ส่วนการพักโทษของผู้ต้องขังที่มีอายุเกิน 70 ปี "ต้องเหลือโทษไม่เกิน 5 ปี และต้องถูกจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 ของโทษตามกําหนดโทษ



ถ้าหากเป็นนักโทษเด็ดขาดที่กรณีอ้างเหตุเป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อย 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ เช่น พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2559บัญญัติว่า "ต้องได้รับโทษจําคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกําหนดโทษ เว้นแต่เป็นคนเจ็บป่วย ด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(โรคเอดส์) ระยะสุดท้าย ซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่า 2 คนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่สามารถจะรักษาในเรือนจําให้หายได้ " เป็นต้น



ก่อนหน้านี้มีการส่งต่อในโลกโซลเชี่ยลกรณี  ทำไมสนธิ ลิ้มทองกุล ไม่หนีออกนอกประเทศ  อ้างถึง อายุที่ครบ 70 ปีของนายสนธิ สามารถขอใช้สิทธิ "เป็นผู้พักโทษ"  



 

ข่าวทั้งหมด

X