การลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำตามโครงการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำในลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่านตอนบนจ.น่าน ระหว่างวันที่ 24-25 ส.ค. ของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากการลงพื้นที่จ.น่าน หลังจากจ.น่านเกิดน้ำท่วม นายสมเกียรติ ประจำวงศ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำที่จ.น่าน เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว หลังจากน้ำท่วมฉับพลัน ถึงสองครั้ง ทำให้มีน้ำไหลเข้าสู่เขื่อนสิริกิติ์มากขึ้น ประกอบกับเขื่อนยังมีปริมาณน้ำยังน้อยอยู่ แต่ก็มากที่สุดในพื้นที่ของภาคเหนือ จะเห็นได้ว่า การตกของฝน มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการตกเฉพาะจุด มีความเข้มข้นมากทำให้น้ำท่วมฉับพลัน ระยะเวลาเดินทางของน้ำเร็วขึ้น เมื่อก่อนฝนที่ตกจากต้นน้ำ ถึงอ.เมืองน่าน ใช้ระยะเวลา 6-9 ชั่วโมง ปัจจุบันเหลือเพียง 3 ชั่วโมง ทำให้ชาวบ้านเตรียมตัวไม่ทัน กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานกับจังหวัดเข้าไปให้ความช่วยเหลือทำให้เร่งระบายน้ำและลดความเสียหายไปได้
ส่วนการลงพื้นที่ไปติดตามดูการศึกษาความเหมาะสมของการสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำกิ และอ่างเก็บน้ำน้ำกอน รองอธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมของของฝ่ายเลขาของคณะทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์น้ำและยึดถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีการวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับการทำงานในระยะยาว ด้วยการดูแลภาคการเกษตร พัฒนาทุกรูปแบบ ทั้งโครงการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ในส่วนลุ่มน้ำน่านเป็นลุ่มน้ำตัวอย่าง มีศักยภาพ 17 แห่ ง ในจำนวนนี้ 3 แห่ง จะเริ่มกำลังดำเนินการ ส่วนอีก 2 แห่ง กำลังทำปีนี้ แต่ปริมาณการจัดเก็บน้ำ ก็ยังไม่เพียงพอที่ต้องใช้ทั้งปี คือ 6,000ล้านลูกบาศก์เมตร เบื้องต้น รูปแบบที่เรากำลังบริหารจัดการน้ำหลาก ด้วยการจัดทำสระน้ำ แก้มลิง ผันน้ำเข้าสู่ทุ่ง ตามแผนหลัก 17 หลัก
ทั้งนี้ 2แห่ง ที่กำลังดำเนินการอยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม อยู่ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่าน คือ แม่น้ำกิ ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งน้ำฝั่งขวาแม่น้ำน่าน มีความจุ 70ล้าน ลูกบาศก์เมตร จะทำให้พื้นที่ตรงนี้ รับน้ำได้ตลอดทั้งปี
ส่วนอ่างเก็บน้ำน้ำกอน ขนาดความจุ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำไหลทั้งปี 300 ล้านลูกบาศก์เมตร จุได้เพียงร้อยละ 30 ของความจุอ่าง เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม และรูปแบบการพัฒนาสังคม ดังนั้น ต้องวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ที่สำคัญต้องทำความเข้ากับประชาชนที่อยู่เหนือเขื่อนด้วย ทั้งนี้ ต้องทำมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษาเรื่องอีไอเอ ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน จากนั้นรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม แผนดังกล่าวคาดว่ามีความชัดเจนภายในปี 2561
นอกจากนี้ ยังไปติดตามการเพิ่มคุณภาพการผลิตข้าวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน โครงการโรงสีพระราชทาน อ.ท่าวังผาด้วย นายจำนงค์ ราชทัณฑ์ ผู้จัดการโรงสีพระราชทาน เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 2549 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ พืชผลการเกษตรเสียหาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เกษตรกร เกษตรกรทำนาได้ แต่ไม่มีโรงสีข้าว ต่อมาจึงพระราชทานโรงสีข้าว มีการบริหารจัดการแปรรูปเป็นวิสาหกิจชุมชน จำหน่ายข้าวสาร ในชื่อ ข้าวน่าน ด้วยการใช้ภาพกระซิบรักจ.น่าน สัญญลักษณ์ของจังหวัด เป็นจุดขาย จำหน่ายในจ.น่านและหลายจังหวัด ต่อมามีการบริหารจัดการแบบสมาชิกชุมชน แบบสหกรณ์ร่วม ปัจจุบันมีสมาชิก 1,147 คน การแปรรูปข้าวสารที่นี่ด้วย นอกจากนี้ นายจำนงค์ ยังให้ความเห็น เกี่ยวกับอ้างเก็บน้ำน้ำกิว่า เกษตรกรจะได้รับประโยชน์ สร้างผลผลิตได้เพิ่มขึ้น โรงสีก็จะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรด้วย
ผู้สื่อข่าว:ปิยะธิดา เพชรดี