นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย เดือนพฤษภาคม จำนวน 1,116 ราย ครอบคุม 42 กลุ่มอุสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 85.1 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 84.0 เมื่อเดือนเมษายน ครั้งแรกในรอบ 7 เดือน คาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้า คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 101 รวมถึงตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี )ในครึ่งปีหลัง จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2-2.5 หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) คลีคลายสถานการณ์ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ระดับหนึ่ง ในส่วนของแรงงานต่างด้าว ส.อ.ท. เชื่อว่าอุตสาหกรรมโรงงานจะไม่มีปัญหา เพราะแรงงานในอุตสาหกรรมเป็นแรงงานถูกกฏหมาย มีการจ้างงานตามกฏหมายแรงงาน ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งมีทั้ง อุตสาหกรรมการเกษตร ประมง และภาคบริการ ตามลำดับ
ด้านนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ในฐานะโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ระบุว่า ปัจจัยการผลิตรถยนต์ทั้งหมดเดือนพฤษภาคม 2557 มีทั้งสิ้น 148,201 คัน ลดลงจากพ.ค. 2556 ร้อยละ 36.08 เนื่อจากปีนี้ไม่ต้องผลิตรถยนต์ในโครงการรถคันแรกแล้ว การส่งออกตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม ผลิตเพื่อส่งออกได้ 455,334 คัน คิดเป็นร้อยละ 57.46 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 2.28 โฆษก ส.อ.ท. คาดการณ์ภาพรวมการผลิตและส่งออกจะดีมากขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม หลังสัญญาณทางการเมืองที่ดีขึ้น
นายวิษณุ ลิ่มวิบูลย์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ส.อ.ท. กล่าวว่า อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม มีมูลค่าการส่งออก 53,412 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นมูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 23 ของการส่งออกรวมของประเทศ อกจากนี้ ยังมีการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือ เออีซี ด้วยมาตรการ 3ข้อ ประกอบด้วย มาตรการด้านการตลาด โดยภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันสนับสนุนการสร้างแบรนด์ของคนไทยอย่างจริงจัง การสร้างและสนับสนุนเครือข่าย โดยเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ให้มีศักยาภาพเทียบเท่าสากล ก่อให้เกิดการจ้างงาน และมูลค่าเพิ่มในประเทศ
ธารา