+++หลังจากที่มีฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่ต้นสัปดาห์ โดยเฉพาะที่บริเวณเกาะคิวชู ของญี่ปุ่น สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ.กรุงโตเกียว แจ้งเตือนคนไทยที่อยู่บนเกาะคิวชู โดยเฉพาะจังหวัดคาโกชิมะ คุมาโมโตะ โออิตะ มิยาซากิ และนากาซากิ ระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินถล่ม ฝนตกหนัก โดยขอให้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ห่างไกลจากหน้าผาหรือที่ลาดชัน และติดตามข่าวสารจากทางการญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ประกาศเตือนภัยฝนตกหนัก ดินถล่ม แม่น้ำเอ่อล้นตลิ่งและอุทกภัย บนเกาะคิวชู โดยคาดว่าในวันนี้ฝนจะยังคงตกหนักต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ เตือนว่าฝนที่ตกมีปริมาณมากกว่าปกติ นอกจากต้องเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังตามถนนเส้นทางต่างๆแล้ว เจ้าหน้าที่ยังเร่งวางกระสอบทรายกั้นแนวตลิ่งของแม่น้ำเพื่อป้องกันอีกด้วย
+++มีรายงานว่า หลายพื้นที่บนเกาะคิวชู เผชิญกับฝนตกหนักตลอดทั้งวันตั้งแต่คืนวันจันทร์ โดยจังหวัดคุมาโมโตะ และจังหวัดมิยาซากิ มีฝนตกหนักกว่า 150 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง เป็นบริเวณกว้าง ปริมาณฝนสะสมมากกว่า 550 มิลลิเมตรในบางพื้นที่ นับว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ที่จังหวัดคุมาโมโตะ ที่ประสบภัยแผ่นดินไหวเมื่อ 2 เดือนก่อน เผชิญเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะผู้ประสบภัยยังต้องพักในที่พักชั่วคราว และมาเจอสภาพอากาศฝนตกหนักน้ำท่วมอีกด้วย
+++ขณะที่อากาศในประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนยังมีฝนตกต่อเนื่องจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก ลำพูน เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา ตราด ระนอง และพังงา เช้านี้ นายกฯ ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2559
+++นายชยพล ฐิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง กระทรวงมหาดไทย สั่งการให้ทุกจังหวัดเตรียมพร้อมและวางแนวทางในการรับมือกับภัยดินถล่มที่เกิดขึ้น
+++ความเห็นหลังกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี ค.ศ.2016 โดยประเทศไทยได้รับการจัดสถานะ ให้อยู่ใน Tier 2 Watch List เทียร์ 2 เฝ้าระวังคือ ประเทศที่ควรตรวจสอบเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐฯ ตระหนักถึงความมุ่งมั่นและความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของไทย ช่วงสายวันนี้ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะแถลงรายละเอียดเพิ่มเติม เบื้องต้น ระบุว่า แม้ไทยจะได้รับการปรับสถานะให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยจะยังคงมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้เกิดผลสำเร็จยิ่งขึ้นต่อไป รวมถึงมีแผนที่จะเพิ่มความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อให้สามารถเสริมสร้างความร่วมมือในการจัดการปัญหาระดับโลกนี้ได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
+++ด้านสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ ออกแถลงการณ์แสดงความยินดีที่รัฐบาลสหรัฐฯให้การยอมรับไทยในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์
+++ขณะที่ กลุ่มสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการตัดสินใจผิดที่ผิดเวลาและอ้างว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่มีแรงจูงใจทางการเมือง นายสตีฟ เทรนต์ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า การปรับขึ้นในครั้งนี้ เป็นการตัดสินใจที่ผิดเวลาและเรียกร้องให้ไทยดำเนินการปฏิรูปถาวรกว่านี้ เพื่อรับประกันว่าจะแก้ปัญหาคอรัปชันให้หมดไปก่อน
+++พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ระบุว่าแม้สหรัฐฯจะให้สถานะไหนก็ยังคงมุ่งมั่นทำต่อไป ไม่ว่าจะเรื่องการทำประมงผิดกฎหมายหรือการค้ามนุษย์
+++มุมของภาคเอกชน นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่า เทียร์ 2 วอตช์ลิสต์ อาจทำให้สหภาพยุโรป (อียู) แสดงทีท่าเชิงบวกต่อการประเมินการแก้ปัญหาประมงของไทย (ไอยูยู) อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ประเมินเทียร์ 2 วอตช์ลิสต์ กับอียู ประเมินไอยูยู ทำงานแยกกัน ดังนั้นการแก้ปัญหาประมงของไทยให้ปลดจากใบเหลือง ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ในเวลาสั้นๆ แต่ถือว่าขณะนี้เดินมาถูกทางแล้ว คาดว่าหากทำตามคำแนะนำอียูวางไว้ภายใน 1-2 ปีนี้ ไทยน่าจะปลดล็อกใบเหลืองไอยูยูได้
+++นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งออกทางเรือ กล่าวว่า จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์สินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเล รวมถึงอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน อย่างเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล คลายความกังวลใจของผู้นำเข้าสินค้าไทยต่อเรื่องแรงงาน ทำให้สั่งซื้อสินค้ามากขึ้น คาดเห็นผลใน 3 เดือนข้างหน้า แต่ไทยก็ต้องมีมาตรฐานและพัฒนาตัวเองด้วย
+++นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งออก คาดว่า ทำให้มูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯในภาพรวมปีนี้เติบโตร้อยละ 10 จากปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 24,056 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีสัดส่วนส่งออกประมาณร้อยละ 10 ของการส่งออกทั้งหมด
+++สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) จัดงานเสวนามาตรการภาคธุรกิจ ต้านทุจริตการติดสินบน ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) หารือเรื่องคดีโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ นายกฯ ระบุว่า คดีอะไรที่สำคัญก็ต้องเร่งดำเนินการให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อความชัดเจน ส่วนเรื่องอื่นอยู่ที่ ป.ป.ช. โดยเปิดให้มีการตอบโต้สู้คดีในกระบวนการยุติธรรม
+++นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) บรรยายพิเศษ เรื่องความสำคัญของการเลือกตั้งกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
+++ด้านนายประวิช รัตนเพียร กกต. เปิดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การออกเสียงประชามติ 6 สัปดาห์ประชามติ ให้กับผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่จ.อุบลราชธานี
+++คดีอาชญากรรม นักเรียนนักเลง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร. พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร รรท.ผบช.น. พล.ต.ต.ชัยพร พานิชอัตรา ผบก.น.3 พ.ต.อ.ถนัด นักธรรม ผกก.สน.มีนบุรี ร่วมกันแถลงจับกุม นายณัฐพงษ์ หรือบอย สังข์ทอง อายุ 20 ปี และนายภควัต หรือเป้ ตั๋นมา อายุ 20 ปี ข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น พร้อมปืนลูกซองสั้นไทยประดิษฐ์ เครื่องกระสุน 4 นัด รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้าเวฟสีดำไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ก่อนคุมตัวไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ตำรวจ สน.มีนบุรี รับแจ้งเหตุมีคนใช้อาวุธปืนยิงไปบนรถเมล์สาย 131 เหตุเกิดที่หน้าจตุจักร ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงและเขตมีนบุรี เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 4 คน จากการสืบสวนทราบว่านายณัฐพงษ์และนายภควัตเป็นผู้ก่อเหตุจึงติดตามกดดันจนผู้ปกครองนำตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 คนมามอบตัว วันเกิดเหตุนายณัฐพงษ์รับว่าเป็นคนนั่งซ้อนท้ายรถ โดยมีนายภควัตเป็นคนขี่รถ จนมาพบผู้บาดเจ็บบนรถเมล์และตะโกนให้ของลับกัน นายณัฐพงษ์ จึงใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มผู้บาดเจ็บแล้วขี่รถหลบหนีไป
+++พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ในส่วนของผู้ต้องหาได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น อีกส่วนหนึ่งพนักงานสอบสวน สอบปากคำ แม่ของนายณัฐพงษ์ และยายของนายภควัต หากมีหลักฐานปรากฏชี้ชัดว่าผู้ปกครองรู้เห็นเป็นใจไม่มีการตักเตือน ผู้ปกครองก็จะต้องถูกดำเนินคดีด้วย คดีนี้ถือเป็นคดีแรกที่ดำเนินการตามประกาศของ คสช. มาตรา 44 ร่วมกับทุกหน่วยงานแก้ปัญหา
+++การจัดระเบียบปากคลองตลาด นายสมชัย ไตรพิทยากุล ผู้อำนวยการเขตพระนคร กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1ก.ค. เป็นต้นไปจะไม่มีการตั้งแผงค้าขายบนทางเท้า เพื่อเป็นการคืนทางเท้าให้ประชาขน กทม.จะปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่และจัดทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต่อไป