การเสวนารำลึกถึงประวัติศาสตร์เมื่อปีวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475วันเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาสู่ “ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา"
นายบัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยารามคำแหง อธิบายประวัติศาสตร์การทำรัฐประหารของไทยมา18ครั้งและได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย อาทิ ทำอย่างไรให้ประชาธิปไตยเป็นกฎกติกาเดียวกันในสังคม , บางฝ่ายคิดว่าไม่สามารถเลือกตั้งชนะอีกฝ่ายได้ โดยการเปลี่ยนผ่านของระบอบประชาธิปไตยมี5ประเด็นที่น่าจับตา โดยการมองให้ประชาธิปไตยเป็นแบบคลื่น อย่ามองเป็นอุดมการณ์และทำอย่างไรให้การเกิดคลื่นอยู่ต่อไปไม่ถอยหลัง,ประชาชนต้องทำหน้าที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้นำรู้สึกว่าสามารถทำตามความต้องการของประชาชนได้และต้องเข้าใจกรอบแนวคิดของทหารเหล่านี้ว่าได้สร้างเงื่อนไขอะไรที่ทำให้ได้อยู่ต่อเช่นกัน
ส่วนนายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าประชาธิปไตยหายได้ง่ายถ้าไม่สร้างให้เข็มแข็ง และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยนั้นเกิดขึ้นได้ยาก แต่จะมีการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนมากขึ้น หากมองว่าการทำประชามตินั้นคือกลไกการตัดสินใจอย่างหนึ่งของประชาชน อาจทำให้บทบาททางการเมืองลดลง ดังนั้นอย่าคิดว่าการทำประชามติดีเกินไป เนื่องจากยังมีบางกลุ่มกลัวการเปลี่ยนแปลงหรือเสียอำนาจ โดยส่วนตัวคิดว่าปัจจุบันประชาชนอยากก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงแล้ว
นายสติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ จากสำนักงานวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า มองการเปลี่ยนผ่านของประชาธิปไตยแบบนักษัตรว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยครบ48ปี ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแบบครึ่งใบและแบบไทย ขณะนี้ประชาธิปไตยกำลังถูกท้าทาย ทำให้เกิดปัญหา การไม่เท่าเทียมกัน การไม่มีส่วนร่วมของประชาชน การไม่แน่ใจในรัฐบาล และไม่เกิดความสมดุลการใช้อำนาจและการเข้าแทรกแซงของทำกิจกรรมของประชาชน
ด้านนายสุรชาติ บำรุงสุข อ.รัฐศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มองการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยเป็นแบบกระแส3ลูกคลื่น ซึ่งแบ่งเป็น3ช่วง คือ ปี2475 ปี2516และปี2535 จนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมองว่าเป็นประชาธิปไตยแบบมาไม่นานแล้วกลับไปสู่อำนาจนิยมเช่นเดิม จึงตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรให้กองทัพไทยออกจากการเมือง และก้าวสู่ประชาธิปไตย โดยได้ทิ้งท้าย10ข้อถึงการทำอย่างไรให้ประชาธิปไตยอยู่อย่างยั่งยืน อาทิ จะจัดการอย่างไรกับรัฐธรรมนูญไทย ที่มีกลุ่มอำนาจนิยมกลัวสูญเสียอำนาจ การออกแบบกฎหมายความมั่นคงและสถานการณ์พิเศษเป็นอย่างไร ปรับบทบาทของกองทัพและปฏิรูปด้านความมั่นคงอย่างไร และสุดท้าย จะผลักดันการปฏิรูปการเมืองอย่างไร