*DTAC กระตุ้นสังคมโซเชี่ยล หยุดรังแก หยุดกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ใช้หัว..คลิก

17 มิถุนายน 2559, 14:14น.


การกระตุ้นจิตสำนึกในสังคมออนไลน์ เนื่องในวันต่อต้านการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์  นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กร และการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  เปิดเผยว่า dtac ได้ออกแคมเปญกระตุ้นจิตสำนึก สังคมออนไลน์ภายใต้แนวคิด "ใช้หัวใจ.. คลิก" หยุดดูหยุดแชร์ หยุดรังแกกันบนโลกออนไลน์ ที่เน้นในการ มีส่วนร่วม แสดงพลังต่อต้านปัญหา cyber bullying หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ซึ่งมีความรุนแรงโดยพบว่าและ 1 ใน 5 ของสาเหตุการฆ่าตัวตายมาจากการกลั่นแกล้งออนไลน์ซึ่งเกิดขึ้น ทุกที่ทั่วโลก โดยเฉพาะวัยรุ่น ร้อยละ 50 ยอมรับว่าเคยถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์



จากผลสำรวจคนไทยบนโลกออนไลน์ โดยจากความร่วมมือกับจส .100 จัดทำผลสำรวจความคิดเห็น คนกว่า 34,000 คน พบตัวเลขความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ที่น่าสนใจ โดยพบว่าร้อยละ 80 รู้ว่าการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ หรือ cyberbullying เป็นปัญหาที่รุนแรงต่อสังคม ฉันยังเคยเห็น การกระทำในรูปแบบแอบถ่ายคนอื่นแล้วนำไปโพสต์เม้าท์กับเพื่อน ขณะที่ร้อยละ 54 เคยเป็น ส่วนหนึ่งของcyberbullyingด้วยการโพสต์แกล้งเพื่อน และยังมีบางส่วน ที่แชร์ข้อมูลออกไป ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่าจะทำให้สังคมแย่ลง โดยมีวิธีการต่างๆ  เช่นแอบถ่ายรูปคนอื่นแล้วเอาไปโพสเม้าส์กับเพื่อน  เอารูปไปตัดต่อล่อเลียน การล่วงละเมิดทางเพศผ่านการเล่นเกมส์  อย่างไรก็ดี กว่าร้อยละ 74 เรียกร้องให้มีการสร้างจิตสำนึกในสังคมออนไลน์เพื่อลดปัญหา ขณะที่รองลงมาขอให้หยุดโพสหยุดแชร์ในเรื่องที่ไม่รู้จริง





ขณะที่นางสาวปารมี ทองเจริญ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงาน แบรนด์ คอมมูนิเคชั่น ดีเทค ได้เปิดเผยว่า ดีแทคได้จัดทำหนังสั้นภายใต้แนวคิดหนังสั้นที่อยากให้คนหยุดดู เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าโลกออนไลน์มีผลต่อชีวิตใครหลายคนมากกว่าที่คุณคิด โดยความพิเศษของหนังสั้นเรื่องนี้ทำขึ้นเพื่อให้คนดูได้กำหนดตอนจบเองได้ เลยนำเรื่องราวจากการที่ทำไปโดยไม่รู้ตัวเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆเล่นๆหรือแม้แต่กระทั่งหวังดี โดยการนำข้อมูลเข้าสู่โลกออนไลน์และแกไป เลยไม่คิดว่าจะมีคนร้าย แต่กลับเป็นเรื่องใหญ่บนโลกออนไลน์และทำร้ายชีวิตของใครสักคนได้ พร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการหยุดดูหยุดแชร์เรื่องต่างๆที่เข้าข่าย cyber bullying



วันนี้ยังได้มีการพูดคุย กับนางสาวมินตรา เรืองศักดิ์วิชิต บุคคคลที่เคยถูกถ่ายภาพจากคนไม่รู้จักลงไปวิจารณ์ เรื่องการแต่งหน้าและใบหน้าบนสื่อออนไลน์  จนทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งนางสาวมินตรา กล่าวว่า  อยากให้หยุดการกระทำดังกล่าว เพราะบางเรื่องเราอาจเห็นว่าขำๆ แต่คนที่ถูกกระทำไม่ขำด้วย โดยอยากให้ตนเองเป็นเหยื่อรายสุดท้าย เพราะหากเกิดขึ้นคนที่ไม่มีความเข้มแข็งกันมากพออาจทำให้มีผลกระทบต่อชีวิตมากกว่านี้ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินคดีทางกฎหมาย กับผู้ที่แอบถ่ายภาพตนเองและนำไปวิจารณ์บนโลกออนไลน์ให้ถึงที่สุด เพื่อเป็น บรรทัดฐานในการบังคับใช้กฎหมายของสังคมต่อไป



อย่างไรก็ตาม dtac ยังมีกิจกรรมต่อเนื่องด้วยการไปพูดคุยกับเด็กชั้นประถมศึกษามัธยมศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมไปถึงการจัดตั้งแชทไลน์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโลกออนไลน์และเสนอทางออกที่ให้ทุกคนสามารถปกป้องตัวเองจากcyber bullying

ข่าวทั้งหมด

X