ความแห้งแล้ง ส่งผลให้เกิดพายุทรายและมลพิษทางอากาศในตะวันออกกลาง

17 มิถุนายน 2559, 14:08น.


สหประชาชาติ เตือนว่า ภูมิภาคตะวันออกกลางกำลังเผชิญกับสภาพอากาศรุนแรงจากพายุฝุ่นและทรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มมากขึ้นจากในช่วง 15 ปีก่อน โดยอิหร่านกับคูเวต เป็น 2 ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่รับพายุที่มาจากซีเรียและอิรัก ซึ่งปัจจุบันมีสงคราม เมื่อต้องเผชิญกับความแห้งแล้งจากภาวะโลกร้อน ก็ไม่มีการบริหารจัดการพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบพายุฝุ่นและทรายเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่างบางพื้นที่ของเอเชียกลางด้วย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอิหร่าน แจ้งว่ามี 14 จังหวัด รวมถึงกรุงเตหะรานที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ



นายเอนริค เทอราเดลลัส นักอุตุนิยมวิทยา จากศูนย์วิจัยพายุฝุ่นและพายุทราย องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก อธิบายว่า พายุเกิดขึ้นจากอิรักนั้น เกิดจากการที่ระดับในแม่น้ำลดลงเพราะเขื่อนเก็บกักน้ำถูกทำลายเสียหาย ทะเลสาบหลายแห่งหายไปทั้งในอิรักและอิหร่าน ซึ่งทำให้เกิดพื้นที่แห้งแล้งเป็นบริเวณกว้าง กลายเป็นแหล่งที่มาของพายุฝุ่นและทราย ซึ่งโดยทั่วไป ทะเลทรายคือที่มาของพายุในภูมิภาคนี้ แต่ปัจจุบันทั้งการทำเหมือง การขุดเจาะน้ำมัน การเกษตร ไปจนถึงความขัดแย้งในพื้นที่ต่างก็ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ คาดว่าอิรักอาจมีพายุทะเลทรายเกิดขึ้นถึงปีละ 300 ครั้งภายใน 10 ปีจากที่ปัจจุบันเกิดขึ้นปีละประมาณ 120 ครั้ง ขณะที่องค์การอนามัยโลก ระบุว่า พายุทรายทำให้สภาพอากาศเกิดมลพิษและเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชากรโลกเสียชีวิตปีละประมาณ 7 ล้านคน



..



F163

ข่าวทั้งหมด

X