ในการดำเนินนโยบาย การสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำ และพัฒนาแหล่งน้ำตามยุทธศาสตร์ 12 ปี กรมชลประทาน นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน เขื่อนขนาดใหญ่ที่มีทั้งหมด 33 แห่งทั่วประเทศ มีน้ำใช้การได้อยู่ที่ 7,500 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 16 ของความจุน้ำที่ใช้การได้ทั้งหมด สำหรับลุ่มน้ำที่สำคัญค่อแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำ ใน 4 เขื่อนหลักคือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพียง 1,351 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 7 ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝน กรมชลประทานมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ ได้แนวทางชัดเจนว่า การบริหารน้ำในเขื่อนหลักจะทำอย่างไรให้เก็บน้ำได้จำนวนมากที่สุด เพราะปีนี้ น้ำใน 4 เขื่อนหลักมี 1,785 ล้านลบ.ม. เมื่อเทียบกับปีที่แล้วมี 3,800 ล้านลบ.ม. โดยต่างกันเกือบร้อยละ 50 แต่การระบายน้ำจากเขื่อนจะต้องสนับสนุนน้ำกิน น้ำใช้ รวมถึงรักษานะบบนิเวศให้เพียงพอต่อเนื่องไปถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม รวมถึงจะทำอย่างไรให้สามารถใช้น้ำโดยเกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำในช่วงหน้าฝนปีนี้ มีมากกว่าปีที่แล้วถึง ร้อยละ 74 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ยังถือว่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 7 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชี้ได้ว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนมีมากว่า และปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนก็ดีกว่า โดยในช่วงต้นฤดูฝน ฝนจะตกเหนือเขื่อน แต่ถ้าเป็นช่วงปลายฤดู ฝนจะตกที่ท้ายเขื่อนจึงทำให้มีน้ำไหลเจ้าเขื่อนในภาคตะวันออกและภาคใต้มีปริมาณมาก
เพื่อเป็นการแก้ปัญหา กรมชลประทานจึงเสนอให้รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายให้ทุกหน่วยงานร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำ ตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคง และเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ตามเป้าหมาย
...
ผสข.พนิตา สืบสมุทร