การลงพื้นที่ร่วมกับกรมชลประทานในการเยี่ยมชมแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำคลองวังโตนด และสถานการณ์น้ำในพื้นที่จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ขึ้นชื่อในเรื่องเมืองผลไม้ นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจันบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดจันทบุรีประกาศเขตภัยแล้งทั้งจังหวัดซึ่งสถานการณ์ พบว่า ลำน้ำตามธรรมชาติน้ำขอดส่วนใหญ่ ซึ่งน้ำในอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานสร้างไว้ ส่วนใหญ่ก็แทบจะแห้งขอดเช่นกัน เว้นอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ ที่อ.โป่งน้ำร้อนที่ยังมีปริมาณน้ำค่อนข้างดีอยู่ แต่โดยภาพรวมสภาพปัจจุบันโดยเฉพาะลุ่มน้ำวังโตนด ตั้งแต่อ.แก่งหางแมว อ.นายายอาม อ.ท่าใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดในจังหวัดจันทบุรีกำลังขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง จนทุเรียนยืนต้นตาย เพราะไม่มีน้ำต้นทุนไว้ใช้ ซึ่งการแก้ปัญหาเร่งด่วน กรมชลประทานได้นำเครื่องสูบน้ำจำนวน 76 เครื่องมาช่วยบรรเทาปัญหาตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อเยียวยาไม่ให้ต้นไม้ยืนต้นตาย และช่วยในเรื่องการอุปโภคบริโภค
ส่วนในอนาคตกรมชลประทานวางแผนที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำในตอนบนเพื่อที่จะนำน้ำมาช่วยชาวลุ่มน้ำวังโตนด โดยก่อสร้าง อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว อ่างเก็บน้ำคลองประแกด และอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ซึ่งอ่างเก็บน้ำอ่างเก็บน้ำคลองประแกดอยู่ในระหว่างก่อสร้าง ซึ่งมีอุปสรรคในการดำเนินการการขอใช้พื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากมี พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติซึ่งประกาศใช้ใหม่ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. นี้ ซึ่งกำหนดว่าหากจะอนุญาตใช้พื้นที่ได้ต้องผ่านคณะกรรมการก่อน แต่ขณะยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการและกำหนดวาระการประชุม ซึ่งคาดว่าเรื่องดังกล่าวจะทำให้การดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำล่าช้าออกไปอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบเนื่องจากลุ่มน้ำวังโตนดถือเป็นแม่น้ำสายหลักของ.จันทบุรีและหากดำเนินสำเร็จก็จะสามารถช่วยเหลือทั้งชาวระยอง และ.จันทบุรี เพราะจะทำให้ระบบน้ำเชื่อมโยงกันได้ จึงอยากให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันเพราะภาวะสภาพ ภูมิอากาศของโลกขณะนี้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก การสร้างอ่างเก็บน้ำ จึงเสมือนการทำภูมิคุ้มกัน ของเกษตรกรและจะได้มีน้ำใช้ เนื่องจากจันทบุรีมีการปลูกผลไม้ประมานร้อนละ 90 ฤดูแล้งจึงเป็นฤดูที่ต้องการน้ำมาก ไม่เช่นนั้นก็จะทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายซึ่งบางคนบอกว่าตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเจอสภาวะรุนแรงขนาดนี้
รวมถึงยังได้ประโยชน์ที่จะได้หากสร้างอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่งสำเร็จได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ ซึ่งสร้างในพื้นที่ต.คลองพะวาใหญ่ มีความจุประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะช่วยในพื้นที่อ.แก่งหางแมว อ.นายายอาม อ.ท่าใหม่ และจะทำให้ สัตว์ที่อยู่ในเขตตำบคลองพะวามีแหล่งน้ำ และจะได้ไม่มาทำลายพืชสวนข้างล่าง และจะทำระบบท่อส่งน้ำให้กับชาวสวน สำหรับอ่างเก็บน้ำคลองประแกด จะส่งน้ำลงมาข้างล่าง ซึ่งปริมาณการเก็บน้ำทั้ง 2 แห่ง ในอนาคตวางว่าหากมีน้ำเหลือ จะผันน้ำส่วนหนึ่งไปน้ำจันทบุรี
ส่วนอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว มีแผนที่จะผันน้ำเข้าสู่ลุ่มน้ำจันทบุรี เพื่อที่จะสร้างความยั่งยืนแก่ชาวจันทบุรี ตลอดไปจน อ.ขลุง ด้านอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด ซึ่งกำลังศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ หรือ EHIA ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่รองรับน้ำได้ปริมาณมาก ยังเชื่อมโยงแหล่งน้ำต่างๆเข้าด้วยกันในกรณีที่วิกฤต หากจังหวัดจันทบุรีมีปริมาณน้ำมากพอก็จะสามารถส่งน้ำไปช่วยจังหวัดระยองได้ ดังนั้นการสร้างอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่งจึงเป็นการสร้างความยั่งยืนของทางชาวจันทบุรี ระยอง โดยเฉพาะชาวลุ่มน้ำวังโตนด ซึ่งปริมาณน้ำทั้งหมดที่จะได้คือ 300 กว่า ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำทั้งหมดที่จันทบุรีต้องการประมาณ 1000 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงจะต้องมีการสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม ในลุ่มน้ำต่างๆ ของจันทบุรี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณมีลุ่มน้ำย่อย 9 ลุ่มน้ำ จะต้องมีอาคารที่กักเก็บน้ำได้ประเภทอ่างเก็บน้ำ ซึ่งวางแผนไว้ประมาน 10 กว่าแห่งใน จ.จันทบุรี ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติที่จะเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรหลายพื้นที่อำได้โดยเฉพาะการทำลำไย ซึ่งจันบุรีมีการทำลำไยมีมูลค่าส่งออกประมาน 9 พันล้าน ซึ่งหากเร่งรัดดำเนินการก็จะสามารถสร้างประโยชน์ได้มาก
ผสข.ปิยะธิดา เพชรดี