นายฟิลิปโป แกรนดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็น)เตือนว่า การขอลี้ภัยได้กลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่ประชาคมทั่วโลกจะต้องร่วมหาทางแก้ไข ระบุว่า ประเทศอื่นๆจะต้องร่วมแบ่งเบาภาระผู้อพยพจำนวนหลายแสนคนที่ 2-3 ประเทศ โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้พื้นที่ขัดแย้ง ต้องแบกรับอยู่ในเวลานี้ ที่สำคัญคือ ในปัจจุบันมีองค์กรการกุศลเพียง 7-8 แห่งที่ให้เงินสนับสนุนร้อยละ 80-90 ของเงินทุนทั้งหมด ดังนั้นประเทศอื่นๆจึงควรจะมาช่วยแบ่งเบาปัญหานี้ร่วมกัน เพื่อไม่ให้บางประเทศตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างตื่นตระหนกโดยวิธีการปิดชายแดน เพื่อไม่ให้ผู้อพยพเข้าประเทศ ซึ่งไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
เขาตั้งข้อสังเกตุว่า ว่าเมื่อปีก่อน ผู้อพยพไม่ถึงร้อยละ 1 หรือไม่ถึง 2 แสนคนจากทั้งหมด 20 ล้านคน ได้รับอนุญาตให้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่น ขณะเดียวกันยังมีผู้อพยพอีกจำนวนมากที่อยู่ระหว่างการหนีภัยสงครามและปัญหาความยากจนข้นแค้นมากกว่ายุคใดๆในประวัติศาสตร์ โดยรวมอาจจะมีผู้อพยพมากถึง 60 ล้านคนทั่วโลกที่หลบหนีสงคราม ปัญหาเศรษฐกิจและเหตุผลอื่นๆ โดยเฉพาะชาวซีเรียหนีสงครามในประเทศโดยการอพยพมุ่งหน้ายังเอเชียตะวันออกและแล่นเรือข้ามทะเลแคริบเบียนเพื่อเข้าไปยังยุโรป เมื่อปีก่อนผู้อพยพ 1,255,600 คนเดินทางเข้ายุโรปเพื่อขอลี้ภัยเมื่อปีก่อน ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2557/14.45 น.