*ครม.รับทราบมติ4กระทรวง ยุติสำรวจและทำเหมือนทองคำทั่วประเทศ*

10 พฤษภาคม 2559, 15:48น.


ครม.รับทราบข้อสนอของ 4 กระทรวง ที่ยุติสำรวจและทำเหมืองทองคำทั่วประเทศ นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมร่วมระหว่าง 4 กระทรวงหลัก ประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบผลกระทบต่อชุมชนจากการทำเหมืองแร่ทองคำ เนื่องจากมีสารตกค้างโลหะหนักเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน และเกิดความขัดแย้งในชุมชน  จึงเสนอที่ประชุม ครม.รับทราบ ในการยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจและประทานบัตรทำเหมือนแร่ทองคำทั้งหมดทั่วประเทศ  รวมถึงคำขอต่ออายุประทานบัตรของบริษัทเอกชนทุกราย



โดยขณะนี้มีเอกชนได้ยื่นเสนอขออาชญาบัตรมาให้พิจาณา 177 แปลง จากบริษัทเอกชน 12  ราย ในพื้นที่ 10 จังหวัด และการขออนุญาติขุดเหมืองทองคำ 107 แปลง ในพื้นที่ จ.เลย  เนื่องจากการผลิตทองคำในประเทศไทยมองว่ายังไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ เพราะต้องใช้หินแร่ทองคำ 1 ตันผลิตทองคำได้เพียง 1 กรัม และผลิตทองคำได้เพียง 3-4 ตันต่อปี   มูลค่าทองคำประมาณ 3,600 ล้านบาทต่อปี  นอกจากนี้ หัวหน้า คสช.ยังได้กำชับว่า การเปิดสำรวจและทำเหมืองทองคำ ต้องไม่สร้างมลพิษ ต้องไม่เกิดความขัดแย้งจากชุมชนและดำเนินไปด้วยความโปร่งใส เมื่อเปิดปัญหาดังกล่าว 4 กระทรวงจึงเห็นชอบยุติแผนดังกล่าว  เพราะมองว่าไม่คุ้มค่าต่อผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้น แม้บริษัทอัคราฯจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย รัฐบาลพร้อมต่อสู้ในชั้นศาล เพื่อรักษาผลกระทบต่อสุขภาพกับชาวบ้านในพื้นที่



นายชาติ หงศ์เจียมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่  กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ยังรับทราบข้อเสนอเปิดทางให้บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ขยายเวลาประกอบกิจการไปจนถึงสิ้นปี 59 เพื่อนำแร่ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพนักงาน และเตรียมการยกเลิกประกอบกิจการ 



พร้อมทั้งให้บริษัทอัคราฯ เร่งดำเนินการปิดเหมืองทองคำและฟื้นฟูพื้นที่โดยรอบ บนพื้นที่ 3,000 ไร่ จำนวน 14 แปลง  ทั้งการปลูกต้นไม้ ปรับสภาพดิน เก็บบ่อเหมืองทองคำให้เหมือนเดิมในช่วง 3 ปี ข้างหน้า



นอกจากนี้ยังได้ทำเงินกองทุนกองทุนพัฒนาท้องถิ่นประมาณ 45 ล้านบาท มาช่วยเหลือพนักงานของบริษัท 1,583 คน  และนำเงินกองทุนประกันความเสี่ยงที่เหลืออยู่ 87 ล้านบาท ช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพกับชาวบ้านในชุมชน ตลอดจนการปรับปรุงน้ำบาดาลในพื้นที่จำนวน 10 บ่อ เพื่อให้ชาวบ้านบริโภคได้เหมือนเดิม โดยไม่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำเหมือง

ข่าวทั้งหมด

X