*อังกฤษจะปล่อยยุงตัดต่อพันธุกรรมผสมพันธุ์ยุงลายพาหะของไวรัสซิกาในเกาะเคย์แมน*

06 พฤษภาคม 2559, 20:56น.


นายบิลล์ เปตราย ผู้อำนวยงานสถาบันวิจัยและควบคุมยุงลายของหมู่เกาะเคย์แมน อาณานิคมโพ้นทะเลของอังกฤษซึ่งตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตกและนายเกลน สเลด ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทไบโอเทคอ็อกซิเทคของอังกฤษกล่าวว่า บริษัทอ็อกซิเทคและรัฐบาลของหมู่เกาะเคย์แมน มีแผนจะปล่อยยุงที่ได้รับการตัดต่อทางพันธุ์กรรม(จีเอ็ม)หลายล้านตัวบนเกาะเคย์แมน ในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้ต่อสู้กับยุงลายที่เป็นพาหะในการแพร่ไวรัสซิกา และโรคอื่นๆ โดยบริษัทฯจะทำการทดลองเป็นเวลา 9 เดือน นับเป็นความคืบหน้าที่สำคัญของอ็อซิเทค ซึ่งที่ผ่านมาได้ส่งเสริมแนวทางต่างๆที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ พร้อมทั้งเป็นการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพื่อลดกระแสความหวั่นวิตกของสาธารณชนในเรื่องไวรัสซิกา



ก่อนหน้านี้ บริษัทฯได้ทำการปล่อยยุงจีเอ็มเพื่อสู้กับยุงลายในบราซิล สานต่อโครงการนำร่องในบราซิล หมู่เกาะแคย์แมนและปานามาพบว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจและคณะผู้วิจัยเสนอว่าควรจะทดลองต่อไปที่หมู่เกาะเคย์แมน ซึ่งมี่ประชากรราว 5 หมื่นคน ระหว่างที่รอการอนุมัติด้านกฎระเบียบจากรัฐบาลสหรัฐฯด้วย นอกจากนี้รัฐบาลของหมู่เกาะเคย์แมนอนุญาตให้มีการปล่อยยุงจีเอ็มเพื่อทดลองบนหมู่เกาะเคย์แมนได้อย่างเต็มที่เพราะต้องการจะกำจัดยุงลายให้หมดไป หลังการทดลองเบื้องต้นเมื่อปี 2553 ประสบผลสำเร็จ ด้านบริษัทอ็อกซิเทค กล่าวว่ายุงจีเอ็มตัวผู้จะผสมพันธุ์ยุงลายตัวเมีย และจะทำให้เกิดยุงตัวอ่อนที่จะไม่รอดชีวิตไปถึงช่วงเจริญพันธุ์ จะส่งผลให้ปริมาณยุงลายลดลงอย่างรวดเร็ว



ด้านองค์การอนามัยโลกระบุก่อนหนานี้ว่า จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆทดลองปล่อยยุงจีเอ็มปราบยุงลาย เพื่อช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย รวมถึงไวรัสซิกา หลังพบว่ามีความเชื่อมโยงกับกรณีทารกแรกเกิดคลอดออกมามีขนาดศีรษะเล็กและพัฒนาทางสมองช้ากว่าปกติ และโรคภูมิแพ้ตัวเองที่เรียกว่า กลุ่มอาการกีแยง-บาร์เร/

ข่าวทั้งหมด

X