การลงพื้นที่ของกรมชลประทาน บริเวณลุ่มน้ำยม - น่าน ในการแก้ปัญหาน้ำท่วม- ภัยแล้ง โดยใช้แนวทางการบริหารจัดการน้ำแก้มลิง โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซาก ในพื้นที่เหนือจังนครสวรรค์ คือ พิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงความเชื่อมโยงของลำน้ำ ยม-น่าน ว่า มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งลำน้ำน่าน มีปริมาณน้ำไหลทั้งปี 11,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งท้ายเขื่อนสิริกิติ์ต่อมายังจังหวัดพิจิตรพิษณุโลกและนครสวรรค์ ขณะที่ลำน้ำยม จะเห็นว่า มีน้ำเป็นบางจุด ทำให้น้ำไม่ต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีไฟหรือประตูระบายน้ำ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะเห็นชัดเจนที่สุดหลักคือบริเวณจังหวัดสุโขทัย ซึ่งบริเวณหลักหลักที่ลำน้ำยมไหลผ่าน จะมีปริมาณน้ำไม่น้อยกว่า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ปัจจุบันสภาพนะไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่แล้ว ดังนั้นสุโขทัยจึงต้องอาศัยน้ำจากแก้มลิง ทุ่งทะเลหลวง โดยสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ด้านอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ซึ่งแม่แก้มลิงทะเลหลวงจะมีความจุประมาณ 32 ล้านลบ.ม. แต่ฤดูฝนที่แล้ว มีน้ำไหลเข้าเพียง 12 ล้านลบ.ม. ทำให้น้ำไม่เต็มปริมาณพื้นที่ ทำให้ขนาดนี้น้ำเหลือปริมาณเพียง 5 ล้านลูกบาศก์เมตรซึ่งถือว่าต่ำ น้ำสำรอง ที่ตั้งไว้ 7 ล้านลบ.ม. ประกอบกับการระเหยจาก จากความร้อนในแต่ละวันทำให้น้ำมีปริมาณน้อยมากขึ้น
ในฤดูแล้งปีนี้ แม้ว่าจะมี การขาดแคลนน้ำค่อนข้างมาก แต่ด้วยความไม่ประมาท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำชับมายังกรมชลประทาน ให้ทำแผนบูรณาการ แก้ปัญหา ในน้ำท่วม โดยเตรียมเอาไว้ โดยกรมชลประทานได้รับงบประมาณในการศึกษา การออกแบบโครงข่ายน้ำ เชื่อมโยงระหว่างยมกับน่าน ซึ่งในส่วนน้ำที่จะเข้าสุโขมัยจะเห็นว่า กรมชลประทาน พยายามที่จะนำน้ำเข้าสู่คลองสาขา ที่มีอยู่จำนวนมาก เพื่อการชะลอน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งจะสามารถเก็บหรือชะลอน้ำได้ไม่น้อยกว่า 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวกัน ในพื้นที่ก็ได้มีการประสานงานกับเกษตรกรให้เริ่มปลูกพืชฤดูฝนตามกำหนด เพื่อที่จะได้เก็บเกี่ยวให้เสร็จก่อนในช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อที่จะนำพื้นที่การเกษตรดังกล่าวเป็นที่รับน้ำ
ทั้งนี้แม้จะขาดแหล่งเก็บน้ำ แต่กรมชลประทานมีโครงการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ในเรื่องแหล่งเก็บน้ำบริเวณสองฝั่งของลำน้ำยม โดยเห็นว่าตอนกลางของลำน้ำยมมีแหล่งเก็บน้ำที่มี ประสิทธิภาพสูง ซึ่งขณะนี้ อยู่ในระหว่างการศึกษาบูรณาการจากหลายหน่วยงาน โดยลำน้ำยมจะต้องทำประตูระบายน้ำเป็นทอดทอด เพื่อที่ระบายน้ำ และเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ทำให้เมื่อถึงฤดูแล้งจะมีน้ำใช้ประกอบกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากอีกด้วย
ผสข.ปิยะธิดา เพชรดี