ชิลีพบยุงลายพาหะไวรัสซิกาเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 50 ปี

20 เมษายน 2559, 09:08น.


กระทรวงสาธารณสุขประเทศชิลี เปิดเผยการพบยุงลายสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของการแพร่กระจายไวรัสซิกาอีกครั้ง และมีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้น หลังจากที่ชิลีมีการกำจัดยุงชนิดนี้เมื่อปี 2504 แต่กลับมาพบอีกครั้งที่เมืองทะเลทรายอะตากามา ติดกับชายแดนเปรูทางตอนเหนือ ซึ่งองค์กรอนามัยโลก ระบุว่า การพบยุงลายสายพันธุ์ที่เป็นพาหะของไวรัสไม่ได้หมายความว่าจะไวรัสจะแพร่ระบาดภายในประเทศ แต่นายเจมี่ เบอร์โรว์ รัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขชิลี เตือนว่า ยุงลายชนิดนี้อาจมีการแพร่พันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว จึงให้เร่งกำจัดตั้งแต่ในขั้นตอนที่ยังเป็นลูกน้ำ



องค์การอนามัยโลกระบุด้วยว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาตินอเมริกา และแคริบเบียน ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสซิกา โดยบราซิลได้รับผลกระทบรุนแรงมากที่สุดทั้งมีความเป็นไปได้สูงที่จะแพร่กระจายไปยังทุกประเทศในทวีปอเมริกา เว้นแต่แคนาดากับชิลี ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อจากยุงลาย แม้ว่าเมื่อเดือนมีนาคมจะพบผู้ติดเชื้อ แต่ก็เป็นการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์



..

F163

ข่าวทั้งหมด

X