มาตรการแก้ไขปัญหาจุดตัดรถไฟหลังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ตามนโยบายของ นายอาคม เติมพิทยาไพศิษฐ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ย้ำว่า ในช่วงสงกรานต์ 9 วัน ได้ประสานให้ขอกำลังจาก อบต. อบจ. ประจำจุดตัดและทางลักผ่านทุกจุดที่ยังไม่มีเครื่องกั้นและมี ประชาชน ใช้ ส่วนถนนของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ให้อาสาสมัคร ทช ที่มีอยู่ทั่วประเทศ 9,500 คน เฝ้าระวังตลอด ส่วนจุดตัดที่ติดตั้งเครื่องกั้นเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างส่งมอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ให้เปิดใช้ทันที โดยรฟท. ขอโอนงานติดตั้งเครื่องกั้นนอกเขตรับผิดชอบกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท จากปี2560 มาทำในปี2559 ทันที งบประมาณ582ล้านบาท โดยประสานงาน สำนักงบประมาณ เพื่อเร่งดำเนินกา
สำหรับ ทางโค้งก่อนข้ามทางรถไฟ และทางตรง ได้สั่งให้ ทช ทล ตัดแต่งกิ่งไม้ ติดตั้งราว 2 ข้าง ตีเส้น rubber strip และลงพื้นแดง ติดตั้งป้ายสูงเตือนเป็นระยะ รวมทั้งขอให้ชาวบ้านรื้อถอนเพิงขายของ และสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้ามาในเขตทางออกให้หมด เพื่อให้ผู้ขับขี่ยวดยานมองเห็นทางแบะทัศนวิสัยได้ดีขึ้น ส่วนนี้จะใช้งบเหลือจ่ายของปี 2559 ก่อน และไปปรับงบของปี 2560 ส่วนเส้นทางรองที่เชื่อมถนนใหญ่ใกล้บริเวณจุดตัดให้ติดตั้งป้ายระวัง และไฟวาบก่อนแยกเพื่อเตือน
สำหรับปัญหาอุโมงค์ต้นไม้ที่หล่มสัก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำชับไม่ให้ตัดอีกเป็นอันขาด หลังจากตัดไป 60 ต้น และสั่งให้ออกแบบใหม่ โดยเก็บอุโมงค์ไว้ ทำราวเหล็กเคลือบสังกะสีติดต้นไม้ตลอดแนว ครอบด้วยไม้พุ่มมีดอกสีสัน เพื่อไม่ให้มองเห็นราวแบบสิงคโปร์ ความกว้างช่องจราจรมาตรฐาน 3.50 ม. 2 ช่อง 7 ม. ทำ frontage หลังแนวอุโมงค์เป็นช่องจักรยานให้ชาวบ้านใช้เนื่องจากไหล่ทางจะแคบหากไม่ตัดต้นไม้ ก่อนเข้าอุโมงค์จะมีป้ายบอกระยะทางอุโมงค์ให้ระวังและชะลอรถ ส่วนอีก 2 ช่องทำในเขตทางอีกด้านไม่มีต้นไม้ ขณะนี้ รวค. ได้มอบหมายให้ ทล.ทำแบบ perspective แล้วให้ขึ้นไปพูดคุยกับชาวบ้าน ก่อนก่อสร้างจริง