*อดีตรองผู้ว่าฯกทม.มองไทยต้องเร่งพัฒนาระบบราง เน้นซ่อมบำรุงแอร์พอร์ต เรล ลิงก์*

26 มีนาคม 2559, 13:05น.


การพัฒนาระบบรางในประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ให้ข้อมูลกับจส.100 ว่า ถ้ามองแนวทางการพัฒนารางของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยยังล้าหลังมากในการพัฒนา ถ้าจะมองญี่ปุ่นๆพัฒนาไปเร็วมาก พร้อมทั้งดูแลสวัสดิการให้กับพนักงานด้วย ทั้งๆที่พื้นที่น้อยกว่าประเทศไทย ประชาชนมากกว่า แต่การพัฒนาระบบรางของญี่ปุ่นสะดวกและทันสมัยมาก ในส่วนของประเทศไทยจะเห็นว่า มีการพัฒนาเรื่องโครงสร้างถนน แต่ไม่มีการพัฒนาเรื่องของรถไฟ  ดร.สามารถ กล่าวว่า รถไฟฟ้ามีข้อดีคือตรงเวลา แต่มีปัญหาเวลาที่เสีย ดังเช่นกรณีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์  ที่มีปัญหาเมื่อวันจันทร์ ก็ได้เตือนมาตั้งแต่ปี 2557 เรื่องการซ่อมบำรุง ควรจะซ่อมบำรุงตั้งแต่วิ่งมา 1 ล้านกิโลเมตรจนถึงปัจจุบัน ระบบรางควรต้องซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ ไม่มีการเจียรางเพราะมีการกัดสีกัน  มีเพียงการเจียรางแค่ครั้งเดียว ยังรู้สึกว่ารถวิ่งช้ามาก และยางที่รองรับตัวรางต้องดูตลอดและต้องทำเมื่อครบกำหนดในการวิ่ง ตามปกติเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญรู้อยู่แล้วว่าควรซ่อมช่วงไหน ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ซ่อม และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์มีความสูงมาก ถ้าเสียขึ้นมาก็ลำบากอีก มองว่า ต้องมีหน่วยงานอิสระ มาตรวจสอบ



อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. มองว่า ระบบรางในกรุงเทพมหานคร ควรแบ่งให้มีความชัดเจน ถ้าเป็นระบบเล็ก เช่น รถเมล์บีอาร์ที ควรให้กทม.ดูแล  ถ้าเป็นระบบร่างเชื่อมต่างจังหวัด มองว่าควรเป็นหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ส่วนการอำนวยความสะดวกและเชื่อมต่อกับระบบขนส่งประเภทอื่น เรื่องบัตรโดยสารก็สำคัญ ทุกวันนี้เราใช้บัตรรถไฟฟ้าหลายใบ อนาคตข้างหน้าต้องใช้บัตรใบเดียว อย่างไรก็ตาม การขนส่งระบบรางเกี่ยวกับการใช้งบประมาณด้วย หากเราใช้เงินกู้มากๆ ประเทศก็มีภาระหนี้สินมาก เอกชนไม่ค่อยจะร่วมลงทุน เพราะมองว่าทำไปขาดทุน ลงทุนไม่เกินร้อยละ 20 เท่านั้น จะเห็นได้ว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส ต้องใช้เวลานาน ในการคุ้มทุน



สำหรับการเดินทางในปัจจุบันที่มีการจราจรติดขัด  อนาคตรถไฟฟ้ามีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์มากขึ้น ย้อนกลับไประบบรางอยู่กับเราตั้งแต่สมัย ร.5   ระยะทาง 4,034 กิโลเมตร ส่วนมากเป็นทางเดี่ยวถึงร้อยละ 90 ทางคู่ไม่ถึงร้อยละ 10  ความเร็ว 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แนวความคิดในการก่อสร้างมีมาทุกรัฐบาลแต่สุดท้ายก็ไม่มีความคืบหน้าหรือไม่ได้ก่อสร้าง ในส่วนตัวมองว่า จำเป็นต้องก่อสร้าง เพิ่มความเร็วเป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเห็นได้ว่า รถไฟอยู่คู่กับคนไทยกว่า 100 ปี ถือว่าพัฒนาได้ช้ามาก  น่าเสียดายช่วงหลังให้ความสำคัญระบบรางน้อยไป  ควรจะมีการพัฒนาระบบขนส่งแบบรางเพื่อขนส่งนอกเมืองหรือระหว่างเมือง ตั้งความหวังถึงความเป็นไปได้ให้เชื่อมต่อกันได้ไหมทั่วทุกพื้นที่  รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญรถไฟความเร็วสูงเส้นทางแรกกรุงเทพ-นครราชสีมา มีการเจรจาความร่วมมือระหว่างไทย-จีน มานานแต่ไม่มีความคืบหน้าจนกระทั่งล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจว่าไทยจะดำเนินการเอง งบประมาณในประเทศส่วนหนึ่งและเงินกู้อีกส่วนหนึ่ง มองว่า หากเราพัฒนาระบบรางให้มีความทันสมัยรองรับการเดินทางได้ จะช่วยประหยัดเวลา ส่วนเรื่องค่ารถโดยสารต้องไม่แพงมาก เพื่อให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่าย โดยรัฐอาจจะชดเชยค่าโดยสาร ภาคเอกชนอาจจะเข้ามาลงทุนในสัดส่วนที่น้อยเพียงร้อยละ20 เนื่องจากมองว่าคืนทุนยาก แต่ผลตอบแทน ต้องใช้ระยะเวลา



CR:แฟ้มภาพ

ข่าวทั้งหมด

X