เว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559 ลงวันที่ 21 มี.ค. 2559 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 3 และมาตรา4 เพื่อเปิดทางให้มีการทำประชามติ โดยให้กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ดำเนิน เช่น การออกเสียงประชามติ และประกาศผลการออกเสียงประชามติ การจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ หลักเกณฑ์ วิธีการและคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ การเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ การนับคะแนน เกณฑ์บัตรเสีย และการประกาศผลการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
สำหรับ เนื้อหา ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้จัดทำคำอธิบายร่างรธน.ให้ประชาชนเข้าใจเนื้อหาสำคัญ ๆ ส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่แจ้งคณะรัฐมนตร
ในมาตรา 4 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการดําเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ และประกาศผลการออกเสียงประชามติ และจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญและคําอธิบายสาระสําคัญของ ร่างรัฐธรรมนูญ และกําหนดเวลาในการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ คุณสมบัติและลักษณะ ต้องห้ามของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ การเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และคําอธิบายสาระสําคัญของร่างรัฐธรรมนูญ การออกเสียงประชามติ การนับคะแนน บัตรเสีย และการประกาศผลการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไป ตามที่กฎหมายบัญญัติ
คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติต้องใกล้เคียงกับคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้ายก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับอายุ ให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีในวันออกเสียงประชามติเป็นผู้มีสิทธิออกเสียง ประชามติ การจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ให้ออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ โดยต้องกระทําในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะมีมติเสนอประเด็นอื่นใดไม่เกินหนึ่งประเด็นที่สมควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียง ประชามติเพิ่มเติมว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบพร้อมไปในคราวเดียวกันด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องเสนอภายในสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติรับฟังความคิดเห็นของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป ประเทศประกอบการพิจารณาด้วย
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกําหนดวันออกเสียงประชามติ ซึ่งต้องไม่เร็วกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่ช้ากว่า 120 วันนับแต่วันถัดจากวันที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญส่งคําอธิบายสาระสําคัญ ของร่างรัฐธรรมนูญให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตามวรรคสาม ภายใต้บังคับวรรคสิบสอง ในการออกเสียงประชามติตามมาตรานี้ ถ้าผลการออกเสียงประชามติ มีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญมากกว่าคะแนนเสียงไม่เห็นชอบ ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายภายใน 30 วันนับแต่วันประกาศผลการออกเสียงประชามติ และ เมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการ
ก่อนนายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามวรรคเก้า ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ดําเนินการปรับปรุงคําปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์ และสอดคล้องกับผลการลง ประชามติ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและพระราชทานคืนมา หรือ เมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป ให้นํามาตรา 39 มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม และในกรณีท่ีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอประเด็นเพิ่มเติม ให้นํามาตรา 37/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากระหว่างคะแนนเสียงเห็นชอบกับไม่เห็นชอบเป็นเกณฑ์ และไม่ต้องให้คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบ โดยให้อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญ